การรู้จักให้อภัยคือความเข้มแข็งที่สุด


การให้อภัยเป็นสิ่งที่สำคัญในทุกความสัมพันธ์และการเยียวยา หลายครั้งที่เราไม่สามารถให้อภัยได้ ให้อภัยไม่เป็น แต่การให้อภัยก็ยังเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยทำให้เราสามารถมีความสุขได้มากขึ้น และเป็นอิสระจากความโกรธ ความไม่พอใจ ความเสียใจที่เกิดขึ้นได้อีกด้วย


ฝึกให้ตัวเองเสียสละ และยอมเสียเปรียบหมายความว่า การที่คนๆ หนึ่งยอมเสียเปรียบผู้อื่นบ้าง เป็นเรื่องจำเป็น ใครก็ตามที่บ้าความถูกต้อง บ้าเหตุบ้าผล ไม่ยอมเสียเปรียบอะไรเลย ไม่ช้า คนๆ นั้นก็จะเป็นบ้าสติแตก กลายเป็นคนที่ถูกทุกอย่างแต่ไม่มีความสุข เพราะต้องสู้รบกับคนรอบข้างเต็มไปหมดเพื่อความถูกต้องที่ตนเองยึดมั่นถือมั่น ซึ่งส่วนใหญ่มันก็เป็นเพียงความถูกต้องที่กิเลสของตัวเองลากไป ไม่ได้เป็นเรื่องที่ถูกต้องตรงธรรมอย่างแท้จริง ดังนั้น การยอมเสียเปรียบ การให้ผู้อื่นด้วยความเบิกบานจึงเป็นสิ่งจำเป็นมากกว่าที่เราคิดกัน มีแรงให้เอาแรงช่วย มีเงินให้เอาเงินช่วย มีความรู้ก็เอาความรู้เข้าไปช่วย ในหนึ่งวัน เราควรถามตัวเองว่า วันนี้เราได้ช่วยใครไปแล้วหรือยัง เราได้เสียเปรียบใครหรือยัง ถ้าคำตอบคือ “ยัง” ให้รู้เอาไว้เลยว่า เราเป็นอีกคนที่มีแนวโน้มจะหาความสุขได้ยากเต็มที


การให้อภัย เป็นยาขนานวิเศษอีกตัวหนึ่งที่สามารถช่วยเยียวยาจิตใจของเราได้ เมื่อเรารู้สึกโกรธแค้นคนที่ทุกข์ใจที่สุดก็คือตัวเราเอง ยิ่งเรายึดติดกับความโกรธแค้นนั้นมากเท่าไร ก็ยิ่งส่งผลเสียต่อตัวเราเองมากเท่านั้น ดังนั้นการเรียนรู้ที่จะปล่อยวางและให้อภัย จึงมีผลดีต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตของเราอย่างมาก

 

มนุษย์แต่ละคนมีการมองโลก และตีความเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูและประสบการณ์ของบุคคลนั้นๆ ซึ่งเรามักหลงลืมความจริงในข้อนี้ และด้วยความแตกต่างของมุมมอง บ่อยครั้งจึงทำให้เป็นสาเหตุของความบาดหมางเกิดขึ้นได้ เรามักจะรู้สึกเจ็บปวดและเสียใจจาก

การกระทำของคนที่เรารัก และแคร์ มากกว่าคนอื่นทั่วไป เพราะเรามีความรู้สึกต่อคนๆ นั้นมากๆ การเรียนรู้ที่จะให้อภัย จะทำให้เราหันมามองเห็นมุมมองความแตกต่างที่เกิดขึ้นได้มากยิ่งขึ้น 

 

อย่างไรก็ตาม การให้อภัย ก็อาจไม่ใช่เรื่องง่ายที่เราจะสามารถทำได้ภายในเวลาอันสั้น การให้อภัยเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลา จึงจะสามารถทำได้ ซึ่งแต่ละคนก็ใช้เวลามากน้อยไม่เท่ากัน ซึ่งก่อนที่เราจะสามารถให้อภัยได้นั้น เราจะต้องเผชิญหน้ากับความเจ็บปวดอยู่กับความรู้สึกนั้น ตกตะกอนกับ

เรื่องราวที่เกิดขึ้น ก่อนจะนำมาถึงขั้นตอนการยอมรับ และให้อภัย 

 

การให้อภัย ไม่ใช่สัญลักษณ์ของความอ่อนแอ หลายคนคิดว่าการที่เราให้อภัยคนที่ทำให้เราเจ็บปวด

คือการยอม และนั่นคือความพ่ายแพ้ ซึ่งไม่จริงเลย การให้อภัย ในทางกลับกัน คือการแสดงความเข้มแข็ง และความรักตัวเองอย่างแท้จริง 


การที่จะให้อภัยใครสักคนได้ นั่นหมายความว่า เราจะต้องผ่านกระบวนการที่จะต้องเผชิญหน้ากับความเจ็บปวด เราเข้มแข็งพอที่จะก้าวข้ามจุดนั้นๆ ในชีวิต และปล่อยให้เรื่องราวที่ทำร้ายจิตใจเราได้อยู๋ในอดีต เรียนรู้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และให้อภัยเพื่อสุขภาพจิตของตัวเอง เพื่อให้เราสามารถเดินหน้าต่อไปในชีวิตได้อย่างมีความสุขที่แท้จริง

 

ความโกรธแค้น มีผลทั้งต่อสุขภาพจิต และร่างกายของเรา มีการศึกษาพบว่า การที่เรายึดติดความโกรธแค้นนั้น ๆ เอาไว้ มีผลต่อ ความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ การทำงานของกล้ามเนื้อร่างกาย รวมไปถึงภาวะความเครียด และความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าอีกด้วย ดังนั้น ถ้าเรารักตัวเองมากพอ เราจะไม่ยอมปล่อยให้ตัวเอง ใช้ชีวิตอีกแม้แต่เพียงหนึ่งวัน กับความรู้สึกโกรธแค้นนี้เลย

 

คำถามต่อไปก็คือ ทำอย่างไรเราถึงจะสามารถให้อภัยคนที่ทำให้เรารู้สึกเจ็บปวดได้ วันนี้แพรมี 4 วิธี

การในการจัดการกับความรู้สึกตัวเอง เพื่อที่จะสามารถให้อภัยกับคนที่ทำร้ายเราได้ มาฝากกันค่ะ

 1. ระบุว่าใครทำให้เรารู้สึกเป็นทุกข์ อะไรที่ให้เราเป็นทุกข์ และอะไรที่เราจะต้องให้อภัย

 เมื่อเรารู้สึกโกรธแค้น ให้เราระบุว่า ใครทำให้รู้สึกโกรธแค้นนั้น ซึ่งอาจจะเป็นคนรักของเรา และถามตัวเองต่อว่า อะไรที่ทำให้เราทุกข์ใจ ซึ่งคำตอบที่ได้ก็คือ เขาไม่ได้เป็นอย่างที่เราคาดหวังให้เขาเป็น สุดท้าย เราจะต้องระบุว่า เราจะให้อภัยเขาในเรื่องอะไร ซึ่งในกรณีตัวอย่างนี้ เราอาจจะให้อภัย ในสิ่งที่เขาทำและมีผลกระทบต่อจิตใจเรา เข้าใจว่า เขาก็คือคนๆ หนึ่ง และความทุกข์ที่เกิดขึ้น เป็นเพียงความคาดหวังของเราเท่านั้น เป็นต้น
 

2. อยู่กับความรู้สึกนั้นๆ

อย่างที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น เนื่องจากเราเป็นมนุษย์ มีจิตใจ ความรู้สึกนึกคิด ดังนั้น เราจึงรู้สึก โกรธ เสียใจ และทุกข์ใจ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา

ก่อนที่เราจะสามารถยอมรับความจริง เรียนรู้ และให้อภัยได้ เราจะต้องสามารถเผชิญหน้ากับความรู้สึกเจ็บปวดที่เกิดขึ้น ดังนั้น เมื่อเรากำลังอยู่ในขั้นตอนนั้น ก็ปล่อยให้ตัวเองได้รู้สึก ได้ร้องไห้ ได้เศร้าเสียใจ และผ่านมันมาให้ได้

 

3. ทำความเข้าใจว่า การให้อภัย ให้ประโยชน์อย่างไรกับตัวเรา

การให้อภัยไม่ใช่เรื่องง่าย มันคือการแสดงความเข้มแข็งและรักตัวเองมากๆ เมื่อเรารักตัวเอง เราจะอยากให้ตัวเราก้าวไปข้างหน้า มีสุขภาพที่ดี และมีความสุข ดังนั้น การตระหนักว่า การให้อภัยดีต่อเราอย่างไร เราจะสามารถ ให้อภัยได้

 
4. ให้อภัยและเรียนรู้

การให้อภัยไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องลืมเรื่องราวที่เกิดขึ้น และเป็นเพื่อนที่ดี กับคนที่เคยทำร้ายเราได้ การให้อภัย เป็นการปล่อยวางจากความโกรธแค้นที่อยู่ภายในจิตใจของเรา แต่เราควรเรียนรู้จากเรื่องราวที่เกิดขึ้น และนำมันมาใช้ในการก้าวต่อไป อย่างดีกว่าเดิม


การให้อภัยเป็นเรื่องที่เป็นไปได้สำหรับทุกคน ไม่ใช่เป็นเรื่องสำหรับบางคนที่มีจิตใจดี แข็งแกร่งหรือมีความสุขเพียงเท่านั้น หากคุณกำลังต้องการคำแนะนำสำหรับการให้อภัยบางคนที่ทำร้ายคุณ เพื่อที่ทำให้คุณเป็นอิสระจากความโกรธ และเรื่องเหล่านั้น คุณสามารถลองทำตามคำแนะนำเหล่านี้ดูได้


วิธีการให้อภัยและปล่อยวางอดีต
1. อนุญาตให้คุณรับรู้ความเจ็บปวดของตัวเอง
ก่อนที่คุณจะให้อภัยใคร ในเรื่องอะไรคุณควรจะรับรู้ความรู้สึกที่แท้จริงของตนเอง และความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นในชีวิตของคุณว่าสิ่งที่เกิดขึ้นสร้างความเจ็บปวดให้ระดับไหน อารมณ์อื่นๆ ที่อาจเป็นไปได้ระหว่างการอนุญาตให้ตัวเองรู้สึกเจ็บปวดเช่น

  • ความเศร้าเสียใจ
  • ความผิดหวัง
  • ความโกรธ ความแค้น
  • ความอับอาย

สิ่งเหล่าเป็นเป็นอารมณ์ปกติของมนุษย์ที่ทุกคนสามารถมีได้ การยอมรับว่าตนเองรู้สึกเหล่านี้ และอนุญาตให้ความรู้สึกเหล่านี้ได้แสดงออกมาเป็นเรื่องดี เพื่อที่จะเยียวยาและช่วยเหลือตนเอง หากคุณเริ่มต้นจากการแสร้งว่าคุณไม่ได้มีความเจ็บปวด หรือความรู้สึกอะไร คุณอาจไม่ได้ทำให้ความรู้สึกเหล่านี้ได้รับการเยียวยา 


2. มีเวลาให้กับอารมณ์ด้านลบ
หากคุณอนุญาตให้ตนเองสามารถรู้สึกเจ็บปวด หรือแสดงออกทางอารมณ์จากการมีความรู้สึกเหล่านั้นได้แล้ว คุณควรมีเวลาให้กับอารมณ์เหล่านั้นอย่างตรงไปตรงมา คุณอาจร้องไห้หลังจากที่คุณได้รับรู้ความคุณไม่พอใจเรื่องนั้น การมีเวลาให้กับอารมณ์ด้านลบจะช่วยให้คุณได้ปลดปล่อยบางสิ่งออกมา


ไม่จำเป็นว่าคุณจะต้องจมดิ่งไปกับอารมณ์ด้านลบเหล่านี้ คุณอาจสามารถสังเกตตนเองมากขึ้นหากคุณพยายามทำให้ตนเองเศร้าและยึดติดอยู่กับความเศร้าเหล่านี้ เพราะมีหลายคนที่ทำเหมือนกับเสพติดอารมณ์เศร้า เสียใจ เมื่อเศร้าเสียใจแล้วจะเกิดความพอใจขึ้นลึกๆ การมีเวลาให้กับอารมณ์ด้านลบเป็นเพียงการปลดปล่อยความรู้สึกออกมา

หากคุณเป็นคนที่ยุ่งและมีงานหนักทั้งวัน คุณต้องจัดเวลาให้ตนเองได้รับรู้อารมณ์เศร้า และทำให้ตนเองมีเวลาแสดงความเศร้าด้วยเช่นกัน เพราะการทำตัวเองให้ยุ่งจะสามารถทำได้เพียงหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับอารมณ์ด้านลบ

หากคุณเป็นคนที่มีแนวโน้มว่าจะจมอยู่กับอารมณ์ด้านลบ คุณอาจต้องเพิ่มการตระหนักรู้ในตนเอง เพื่อไม่ให้ตนเองจมอยู่กับความเศร้า โดยสามารถสังเกตได้จากการดูว่าตนเองมีความพอใจลึกๆ หรือไม่เมื่อมีความเศร้า หรืออารมณ์บางอย่างเกิดขึ้น


3. มองเข้าไปในเหตุการณ์นั้น 
มองเข้าไปในเหตุการณ์ที่ทำให้คุณรู้สึกโกรธ ไม่พอใจ หรือเสียใจ เพื่อดูทที่มาที่ไปว่าอะไรที่คุณไม่พอใจ คุณต้องการอะไรในเหตุการณ์นั้นๆ และมองภาพรวมมากขึ้นว่าอะไรบ้างที่คุณสามารถจัดการควบคุมได้ อะไรบ้างที่คุณไม่สามารถจัดการควบคุมได้


หากเป็นไปได้คุณอาจได้เข้าไปพูดคุยกับคนที่ทำให้คุณรู้สึกแบบนั้นเพื่อที่จะบอกให้เขารับรู้ว่าเรื่องไหนที่เขาทำให้คุณรู้สึกไม่สบายใจ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเขาควรจะมีท่าทีที่ดีต่อสิ่งที่คุณได้บอกไปเสมอ หากคุณไม่สามารถบอกสิ่งเหล่านี้ได้ คุณสามารถใช้จินตนาการมองเข้าไปในเหตุการณ์นั้นแทน


4. เลิกมีมุมมองว่าตัวเองเป็นเหยื่อ
การหยุดคิดว่าตนเองเป็นเหมือนเหยื่อในเหตุการณ์ อาจตอบสนองความรู้สึกลึกๆ บางอย่างภายใน แต่การมองว่าแท้จริง ณ เหตุการณ์นั้นคุณเป็นคนหนึ่งที่มีส่วนในการควบคุมตนเองและสถานการณ์จะช่วยให้ทำให้คุณรู้สึกมีพลังมากขึ้น


การมองว่าตนเองเป็นเหยื่อของใครบางคนทำให้ตนเองรู้สึกไร้พลัง ไม่สามารถทำอะไรได้ และทำให้คุณเปลี่ยนท่าทีจากการเดินไปข้างหน้าเป็นการปกป้องตนเอง หรือการโทษสิ่งที่เกิดขึ้น การเลิกมองว่าตนเองเป็นเหยื่อของเหตุการณ์ ไม่ได้หมายความว่าให้คุณมาโทษตัวเองว่าคุณเป็นคนที่ทำให้เรื่องทั้งหมดเกิดขึ้น แต่เพียงแค่ให้มีมุมมองใหม่ว่า คุณเป็นตัวของคุณเอง ตอนนี้คุณไม่ใช่เหยื่อของเหตุการณ์นั้น คุณมีความเป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนแปลงความรู้สึกของตนเอง


5. รับรู้สิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นอย่างสดใหม่
คุณควรจะหาเวลาเพื่อรับรู้สิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงชีวิตขณะนี้เพื่อให้ตนเองได้รับพลังงาน ความสดชื่นจากสิ่งรอบตัว จากเรื่องต่างๆ เช่น 

  • สภาพอากาศดีๆ
  • สุขภาพที่ดีที่ยังมี
  • เพื่อนเข้าใจคุณ
  • ครอบครัวที่ดี
  • ชีวิตความเป็นอยู่ของคุณ

หรือเรื่องอื่นๆ ที่คุณมีความสุขเมื่อนึกถึงมัน บางครั้งการมีเรื่องเล้กน้อยที่มีความสุข อาจเป็นการที่เรามีบางอย่างเช่น มีอาหารที่อร่อยให้รับประทาน มีดวงตาที่สามารถทำให้เรามองเห็นความสวยงามของธรรมชาติ ก็สามารถเป็นเรื่องดีๆ ให้กับเราได้


6. ปล่อยวางความเกลียดชัง
เมื่อเวลาผ่านไป หากมีความโกรธเกลียด เจ็บปวด หรือไม่พอใจเกิดขึ้น สิ่งที่คุณทำได้คือการมองและสัมผัสความรู้สึกเหล่านั้นอย่างเป็นกลาง และกลับมาอยู่ที่ปัจจุบัน การเข้าใจว่าคุณไม่สามารถควบคุมและสั่งให้อารมณ์ความรู้สึกของตนเองมีแต่ด้านบวด หรือพอใจเพียงอย่างเดียวจะช่วยทำให้คุณอยู่กับความรู้สึกที่ไม่น่าพอใจได้มากขึ้น


การปล่อยวางความเกลีียดชังอาจไม่ได้เป็นการปลดปล่อยเพียงครั้งเดียว แต่มันอาจเป็นการค่อยๆ ปลดปล่อยที่ต้องอาศัยเวลา หากคุณมีความรู้สึกนึกคิดที่จะสนับสนุนความเกลียดชังในเรื่องนั้นๆ คุณควรจะกลับมารู้สึกตัวและหยุดเพิ่มเชื้อเพลิงของความเกลียดชังภายในใจคุณ


7. ให้อภัยอย่างสันติ
การให้อภัยจะค่อยๆ เกิดขึ้นภายในใจ คุณสามารถเลือกคำที่คุณรู้สึกเชื่อมต่อได้เพื่อให้อภัยเช่นคำว่า "ให้อภัย", "เข้าใจ", "ความรัก" อาจช่วยทำให้คุณให้อภัยได้ง่ายมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้คุณอาจลองศึกษาการให้อภัยของคนอื่นเพื่อเป็นตัวอย่างให้ตนเองให้อภัยได้รวดเร็วและง่ายมากขึ้นได้ด้วย


8. สร้างช่วงเวลาที่ดีขึ้นมาใหม่
การอยู่ก้บความโกรธ ความเศร้าและไม่พอใจคต้องอาศัยพลังงานมาก หลังจากที่คุณได้อยู่กับความรู้สึกเหล่านั้น คุณควรจะใช้เวลาทำอย่าางอื่นเพื่อให้ตนเองมีความสุขและรู้สึกเติมเต็มบ้าง หากคุณมีความคืบหน้า คุณสามารถให้รางวัลเล้กๆ น้อยๆ กับตนเองเช่นพาตนเองไปทานอาหารที่อร่อยสักเล็กน้อย หรือดูหนังที่คุณสามารถปลดปล่อยอารมณ์ได้อย่างเต็มที่ 


การสร้างช่วงเวลาที่ดีขึ้นมาใหม่อาจทำได้โดยการพบกับผู้คนใหม่ๆ เพราะการเริ่มต้นใหม่ช่วยทำให้คุณสามารถมีช่วงเวลาดีๆ เพิ่มขึ้นได้ และสิ่งนี้ควรเป็นของขวัญชิ้นหนึ่งของคุณที่ได้รับจากการให้อภัยด้วยเช่นกัน

แสดงความคิดเห็น

ใหม่กว่า เก่ากว่า