ทำความรู้จัก อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือที่เราเรียกย่อ ๆ ว่า อสม. นั้น เป็นรูปแบบหนึ่งของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน โดยผ่านกระบวนการอบรมให้ความรู้จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และการปฏิบัติงานด้วยความเสียสละต่อประชาชนในหมู่บ้าน 


ความเป็นมาของ อสม.
ความเป็นมาของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน  ความเป็นมางานสาธารณสุขมูลฐานเกิดขึ้นหลังจากมีคำประกาศปฎิญญา สากล ว่าประชาชนมีสิทธิและหน้าที่ที่จะให้ความร่วมมือทั้งรายบุคคลและเป็นคณะ เพื่อให้บรรลุสภาวะสุขภาพดีถ้วนหน้าภายในปี2543องค์การอนามัยโลกได้จัดสรร ทรัพยากร เพื่อสนับสนุนงานสาธรณสุขซึ่งดำเนินโดยชุมชนหรือที่เรียกว่าสาธารณสุขมูลฐาน สมัครสาธรณสุขประจำหมู่บ้านนั้นมาดัดแปรงมาจากความคิดนี้มีโครงการทดลองที่ จังหวัด พิษณุโลก


         ซึ่งนายแพทย์ สมบูรร์ วัชโรทัย ได้ทำไว้โดยคัดเลือกชาวบ้านบางคนมาทำการฝึกอบรม ให้ทำการรักษาพยาบาลอย่างง่ายๆ ในระยะแรกๆพบอุปสรรคทางสถาบันการศึกษากล่าวว่าเป็นการสร้างหมอเถื่อนจึงรวบ รวมข้อมูลเกี่ยวกับโครงการที่คล้ายๆ กันนำเสนอความคิดเรื่องอาสาสมัครเข้าสู่การวางแผนระดับชาติ โดยมีการประชุมปรึกษากันหลายครั้ง ในที่สุดก็ได้รับความเข้าใจทุกฝ่าย

         ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้เริ่มโครงการอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในปี พ.ศ.2520 ในระยะแรกเป็นไปในลักษณะโครงการทดลองใน 20 จังหวัด โดยดำเนินการทดลองในทุกอำเภอ อำเภอละ 1 ตำบลซึ่งตำบลที่เข้าไปดำเนินการต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้

         1.เคยดำเนินการอบรมผู้สื่อข่าวสารสาธารณสุข (ผสส.) หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)มาแล้ว

         2. สะดวกต่อการเข้าไปนิเทศงานและประเมินผล

         3. มีสถานีอนามัยและมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำ

วัตถุประสงค์ของงานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน          วัตถุประสงค์ในการดำเนินงานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้แก่

         1. เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพกันเองด้วยวิธีที่ง่ายประหยัด และทั่วถึง

         2. เพื่อช่วยบรรเทาภาวะขาดแคลนบุคลากรทางด้านสาธารณสุขในชนบท

         3. เพื่อแก้ไขปัญหารักษาพยาบาลหรือดูแลรักษาสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของประชาชน

         และเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2522 คณะรัฐมนตรีลงมติอนุมัติในหลักการตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอให้เปลี่ยนคำ ว่า การสาธารณสุขเบื้องต้น เป็นสาธารณสุขมูลฐาน ดังนั้นอาสาสมัคร(อสม)จึงถือว่า วันที่ 20 มีนาคม 2522 เป็นวันอาสาสมัครสาธารณสุขด้วย

กิจกรรม          จัดให้มีการประกวดเพื่อคัดเลือก อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านดีเด่น และจัดนิทรรศการเกี่ยวกับงานสาธารณสุขมูลฐาน

คุณสมบัติของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน          ผู้ที่จะเข้ามาเป็นอาสาสมัครในการดูแลสุขภาพอนามัยของเพื่อน บ้านโดยมิหวังผลตอบแทนใดๆ เรียกว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. ควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

         1. มีความสมัครใจที่จะทำงานเพื่อส่วนรวมด้วยความเสียสละ และมีเวลาพอที่จะช่วยเหลือชุมชน

         2. มีความรู้อ่านออกเขียนได้

         3. เป็นผู้ที่ชาวบ้านไว้วางใจ

         4. มีที่อยู่อาศัยและประกอบอาชีพในหมู่บ้านนั้น ๆ

         5. มีอาชีพแน่นอนและมีรายได้เลี้ยงตนเอง

         6. ตั้งบ้านเรือนอยู่ในสถานที่ที่ประชาชนไปติดต่อได้ง่าย

         7. ไม่จำกัดเพศ และไม่จำกัดอายุ

         8. ไม่ควรเป็นข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือแพทย์ประจำตำบล

         ในการคัดเลือกอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จะคัดเลือกโดยวิธีออกเสียงในที่ประชุม ซึ่งประกอบด้วยกรรมการพัฒนาหมู่บ้าน (ถ้ามี) กลุ่มผู้สื่อข่าวสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบล แต่จะไม่มีการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจากทางราชการ เพื่อหลีกเลี่ยงความเข้าใจว่า อสม. เป็นข้าราชการ ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ที่อาสาสมัครสาธารณสุข ได้มีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือประชาชนให้มีสุขภาพอนามัยดีขึ้น ช่วยให้ประเทศชาติลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ไม่จำเป็นลง ได้อย่างมหาศาล

         โดยทำหน้าที่ไนการ "แก้ข่าวร้ายกระจ่ายข่าวดีชี้บริการ ประสานงานสาธารณสุข บำบัดทุกข์ประชาชน ทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี" ด้วยความวิริยุอุตสาหะ โดยปัจจุบันได้มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. เป็นจำนวนถึง 686,537 คน กระจายอยู่ทั่วประเทศทั้งในเขตเมือง และเขตชนบท เพื่อทำหน้าที่ในการ ถ่ายทอดความรู้ กระตุ้นเตือน และส่งเสริมชักชวนให้พี่น้องประชาชนดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้องตามแนวสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ ทำให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

         รัฐบาลได้ตระหนักถึงคุณค่าและคุณความดีของอาสาสมัคร สาธารณสุขจึงได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2536 กำหนดให้ วันที่ 20 มีนาคมของทุกปี เป็นวันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ ซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นวันที่มีความสำคัญ และมีความหมายต่ออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เท่านั้น แต่ยังเป็นวันที่มีความสำคัญต่อการสาธารณสุขในประเทศไทยอีกด้วย เนื่องจากวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2522 เป็นวันที่รัฐบาลได้บรรจุให้การสาธารณสุขมูลฐานเป็นนโยบายและโครงการระดับ ชาติ



หน้าที่ความรับผิดชอบของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)

สื่อข่าวสารสาธารณสุขระหว่างเจ้าหน้าที่และประชาชนในหมู่บ้าน
ให้การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมและป้องกันโรค โดยให้คำแนะนำ ถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนบ้านและแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว แกนนำชุมชนในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพพลานามัยให้แข็งแรง และเกิดการเจ็บป่วยน้อยที่สุด
ให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชน เช่น การรักษาพยาบาลเบื้องต้น การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การจ่ายถุงยางอนามัย การตรวจวัดความดันโลหิต การตรวจหาน้ำตาลในปัสสาวะ การตรวจหาน้ำตาลในเลือด การส่งต่อผู้ป่วย และการติดตามดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อมาจากสถานบริการ
ปฏิบัติงานที่ ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.) หรือสถานที่ตามกำหนดของหมู่บ้าน
จัดกิจกรรมเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาสาธารณสุขในหมู่บ้าน เช่น กิจกรรมเฝ้าระวังทางโภชนาการ โดยการชั่งน้ำหนักเด็ก การติดตามหญิงมีครรภ์ให้มาฝากท้องและตรวจครรภ์ตามกำหนด ให้บริการชั่งน้ำหนักหญิงมีครรภ์เป็นประจำทุกเดือน ติดตามเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และตรวจสุขภาพตามกำหนด กิจกรรมเฝ้าระวังด้านสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค โดยการติดตามให้มารดานำเด็กไปรับวัคซีนตามกำหนด และกิจกรรมเฝ้าระวังเรื่องโรคระบาดและโรคติดต่อประจำถิ่น โดยการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคหรือพาหะนำโรค
บริหารจัดการวางแผน แก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน โดยใช้งบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลและจากแหล่งอื่นๆ
ชักชวนเพื่อนบ้านเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน
ดูแลสิทธิประโยชน์ด้านหลักประกันสุขภาพและสาธารณสุขของประชาชนในหมู่บ้าน โดยเป็นแกนนำในการประสานงานกับผู้นำชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลและเครือข่ายสุขภาพ กระตุ้นให้มีการวางแผนและดำเนินงานเพื่อพัฒนางานสาธารณสุขของหมู่บ้าน บนพื้นฐานข้อมูลของชุมชน สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านสังคมเศรษฐกิจและจิตใจควบคู่กันไป


มติคณะรัฐมนตรี ได้กำหนดให้ วันที่ 20 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่อาสาสมัครสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานและเสียสละเพื่อสังคมมาทั้งปีเพื่อเชิดชูเกียรติของอสม.ให้สังคมรับรู้ถึงบทบาทการทำงานหลายสาขาและกิจกรรมต่าง ๆ ในหมู่บ้านและชุมชน เพื่อยกระดับการทำงานของ อสม. และกิจกรรมต่าง ๆ ในหมู่บ้าน/ชุมชน ให้ดีขึ้น ในปี 2550 นี้ ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดได้ทำการคัดเลือกอาสาสมัครสาธารณสุขดีเด่น (อสม.) จังหวัดสงขลา มีด้วยกัน 10 สาขา
สาขาการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดต่อ (ไข้เลือดออก, ไข้หวัดนกระบาด อสม.ทั่วประเทศได้ช่วยกันรณรงค์ให้ความรู้ชาวบ้านในการสังเกตอาคารของสัตว์ปีก และลงสำรวจทุกหลังคาเรือน สาขาสุภาพจิตในชุมชน  สาขายาเสพติดในชุมชน สาขาการบริการในศสมช. สาขาการคุ้มครองผู้บริโภค สาขาการแพทย์แผนไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ อสม. ก็เป็นส่วนหนึ่งในการดูแลชาวบ้านด้านการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพด้วยการกินผักให้เป็นยา สาขาเอดส์ในชุมชน สาขาการส่งเสริมสุขภาพ (ออกกำลังกายและสร้างสุขภาพ) สาขาการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ (โรคเบาหวาน ความดันโลหิต) สาขาการจัดการสุขภาพชุมชน เป็น 10 สาขาที่มีการประกวดมี 8 ระดับด้วยกันจากหมู่บ้าน/ชุมชน ตำบล อำเภอ โซนจังหวัด เขต ภาคและระดับชาติ อสม. ที่ผ่านการคัดเลือกจะไปรับรางวัลซึ่งเป็นแหวนทองคำลงยาในระดับเขต ระดับภาค ถ้าเป็นระดับชาติก็จะได้แหวนทองคำฝังเพชรและได้รับเครื่องราชอิสยาภรด้วย ตอนนี้จังหวัดสงขลาของเราจัดประกวดเสร็จสิ้นไปแล้ว ทั้ง 10 สาขา ในวันที่ 8 ก.พ. 51 นี้ ก็จะประกวดกันในระดับเขตและภาคที่จังหวัดนครศรีธรรมราชพวกเราก็ขอเอาใจช่วยและส่งกำลังใจให้ไปให้ถึงระดับชาติกับทุกคนในปี 50 ที่ผ่านมาจังหวัดสงขลาเราได้ระดับชาติมาถึง 2 สาขา คือสาขายาเสพติดในชุมชน สาขาการจัดการสุขภาพชุมชน ประชาชนทุกคนทุกระดับสามารถช่วยเหลือสังคมได้กันทั้งนั้นไม่เลือกว่าคนนั้น คนนี้จะเรียนจบมาระดับใด ถ้าพวกเราทุกคนมีจิตอาสาที่เป็นสาธารณะก็ช่วยชาติบ้านเมืองได้ ตามกำลังและความรู้ความสามารถของเรา ในฐานะประชาชนคนไทย


- ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาสุขภาพภาคประชาชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

- School Net Thaniland

- สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

- http://khonhomphc.igetweb.com

แสดงความคิดเห็น

ใหม่กว่า เก่ากว่า