‘บริจาคโลหิต ต่อชีวิต ด้วยการให้’ และรู้ไหมมีประโยชน์อีกมากมาย


วันที่ 14 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันบริจาคโลหิต วันนี้ มีขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักถึงความจำเป็นในการต้องการโลหิตที่ปลอดภัย และผลิตผลประเภทอื่น ๆ จากโลหิตและเพื่อขอบคุณอาสาสมัครผู้บริจาคโลหิต

“แม้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีจะก้าวล้ำไปไกลแค่ไหน แต่มนุษย์เราก็ไม่สามารถผลิตเลือดใช้เองได้ นอกจากการบริจาคเลือดเท่านั้น จะช่วยเหลือผู้ป่วยที่ต้องการเลือดได้”


คุณสมบัติ คือ 

  • อายุ 17-60 ปี หากอายุต่ำกว่า 16 ปี ต้องมีหนังสือยินยอมจากผู้ปกครอง - น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 45 กิโลกรัม 
  • ควรรับประทานอาหารก่อนบริจาคเลือด และต้องนอนหลับอย่างน้อย 6 ชั่วโมง 
  • ไม่อยู่ระหว่างกินยาปฏิชีวนะ และไม่อยู่ภายใน 72 ชั่วโมงหลังการถอนฟัน รวมถึงไม่มีแผลสด แผลติดเชื้อตามร่างกาย 
  • ไม่มีโรคที่อาจถ่ายทอดไปยังผู้ป่วย 
  • สำหรับผู้หญิงไม่ควรเป็นช่วงที่มีประจำเดือน เพราะจะทำให้เสียเลือดซ้ำซ้อน 
  • ไม่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เพราะน้ำนมผลิตมาจากเลือก หากบริจาคเลือดอาจทำให้น้ำหมดลดน้อยลง


จากคุณสมบัติที่กำหนดไว้ก็เพื่อให้ได้เลือดที่มีคุณภาพและปลอดภัยมาใช้กับผู้ป่วยและเป็นการห่วงใยสุขภาพผู้บริจาคเลือดด้วย เพราะถ้าผู้บริจาคเลือดร่างกายไม่พร้อมแล้วยังจะมาบริจาคเลือดอีก คนที่แย่อาจเป็นตัวเองก็ได้

การบริจาคเลือดทำได้ทุก 3 เดือน แต่ก่อนบริจาคเลือดแต่ละครั้ง ต้องเตรียมตัวให้พร้อมก่อน ตามเกณฑ์สภากาชาดไทยและผู้บริจาคต้องมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว อย่างเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เป็นต้น

ต่อมาคือ ควรนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ หากตื่นนอนและรู้สึกเพลีย เนื่องจากนอนหลับไม่สนิท ก็ไม่เหมาะกับการบริจาคเลือด เพราะร่างกายจะไม่พร้อม อาจทำให้เป็นลมได้ ส่วนการรับประทานอาหาร ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง อย่างเช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ ผัดซีอิ๊ว ผัดกะเพรา เป็นต้น เพราะจะทำให้เลือดข้นมาก พลาสมาขุ่น ทำให้ปั่นเกล็ดเลือดไม่ได้ และคัดแยกเลือดลำบาก นอกจากนี้ หากผู้บริจาครับประทานยามาก่อนบริจาค อย่างยาปฏิชีวนะ ที่ป้องกันเลือดแข็ง หรือยากดสิว ซึ่งเป็นยาที่มีผลกระทบต่อผู้รับ และทารกในครรภ์ ผู้บริจาคควรแจ้งให้ผู้คัดกรองประวัติรู้ทุกครั้ง

หากผู้บริจาคมีอาการไข้ ไม่สบาย ไม่ควรบริจาค และผู้ที่ผ่าตัดหรือทำฟัน ควรเว้นระยะเวลา 3 วัน ก่อนบริจาคด้วย อีกทั้งผู้บริจาคต้องไม่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี ซี โรคเอดส์ โรคซิฟิลิส เพราะโรคเหล่านี้ถ่ายทอดผ่านการให้เลือดได้ หากเป็นผู้หญิงไม่ควรอยู่ในระหว่างมีประจำเดือน ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เพราะช่วงเวลาระหว่างนั้นต้องใช้พลังงานสำรองของร่างกายทำงานหนักอย่างอื่น และทีสำคัญ ผู้บริจาคควรมีสติสัมปชัญญะ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ทั้งก่อนและหลังบริจาคเลือด

หลังบริจาคเลือดต้องทำอย่างไร
เมื่อบริจาคเลือดเสร็จ ควรนั่งพักก่อน เพื่อจะได้สังเกตอาการ เพราะคนที่มีอาการแทรกซ้อนอย่าง หน้ามืด เป็นลม จะเกิดขึ้นหลังบริจาคเลือดในเวลาอันสั้น และควรงดใช้แขนข้างให้เลือดยกของหนัก ออกกำลังกาย อย่างเล่นเทนนิส  ตีกอล์ฟ  เพราะอาจจะเกิดอาการช้ำ หรือบวมที่แขนได้ นอกจากนี้ควรดื่มน้ำเยอะกว่าปกติ เพราะร่างกายจะได้ไม่แห้งจากการเสียเลือด นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการทำงาน หรืออยู่บนที่สูง ควรงดการอบซาวน่า เพราะจะทำให้หลอดเลือดขยายตัวและเป็นลมได้ และงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด

การบริจาคพิเศษ
นอกจากการบริจาคเลือดแล้ว การบริจาคพิเศษอื่นๆ อย่างเช่น การบริจาคพลาสมา เกล็ดเลือด เม็ดเลือดแดง ฯลฯ เป็นการบริจาคเสริมที่ทำขึ้น เพื่อหาเลือดให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วย โดยผู้บริจาคจะเป็นผู้ที่เคยบริจาคเลือด และได้รับการคัดกรองประวัติการติดเชื้อ เนื่องจากธนาคารเลือดจะได้รู้หมู่เลือด สภาพหลอดเลือด ขั้นตอนการบริจาคต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพราะการบริจาคพลาสมาจะผ่านเครื่องรับแยกทันที ซึ่งมีการรับแยก พลาสมา เม็ดเลือด เกล็ดเลือด ผู้บริจาคจึงต้องมีเวลาและสุขภาพดีพอสมควร

ข้อดีของการบริจาคเลือด คือ ?
ข้อดีที่สุดคือ ทุกคนที่บริจาคจะรู้สึกดี และปลาบปลื้มที่ได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ นอกจากนี้ การบริจาคเลือดจะทำให้เราเข้าใจ และได้ความรู้เกี่ยวกับการประพฤติตัวให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ  และผู้บริจาคเองก็จะได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่ควรทำ ช่วยให้ผู้บริจาครู้จักดูแลตัวเอง และอีกหนึ่งข้อดีคือ ผู้บริจาคเลือดเป็นประจำจะมีสุขภาพที่ดีมากด้วย

การบริจาคโลหิต คือ การเก็บโลหิตจากผู้มีความประสงค์จะบริจาค แล้วนำโลหิตดังกล่าว ผ่านกระบวนการคัดกรอง หากมีคุณสมบัติที่ดีจะถูกนำไปเก็บใน ธนาคารโลหิต หรือส่งไปยังโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อนำออกมาใช้ในยามฉุกเฉิน

การบริจาคโลหิต สามารถทำได้ทุกๆ 3 - 4 เดือน ตามความเหมาะสมของสภาพร่างกายของบุคคลที่จะบริจาค ซึ่งผู้บริจาคจะต้องมีคุณสมบัติ ประกอบกับสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ซึ่งมีหน่วยเคลื่อนที่บริการในการรับบริจาคโลหิต หรือสามารถบริจาคได้ที่ศูนย์รับบริจาคประจำจังหวัด ของสภากาชาดไทย
การบริจาคโลหิตเป็นสิ่งที่ดีนะคะ หลายๆคนคงเคยบริจาคกันมาบ้างเลย คงจะได้อิ่มบุญกันมากเลยกับการที่ได้เป็นผู้ให้กับคนอื่น วันนี้จะมาพูดถึงข้อดีของการบริจาคโลหิตค่ะว่ามีผลดีอย่างไรต่อเราผู้บริจาคกัน

เบื้องต้น จะขออธิบายเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้บริจาคซักเล็กน้อย เผื่อหลายคนกำลังสงสัยอยู่ว่าตัวเองบริจาคได้รึเปล่า


ข้อดีข้อที่ 1 ทำให้สุขภาพแข็งแรง
หลายๆคนคงสงสัยว่า ว่าการบริจาคเลือด เป็นการเอาเลือดออกจากตัวแล้วร่างกายจะแข็งแรงขึ้นได้อย่างไร จริงๆแล้ว เลือดที่บริจาคออกไปเป็นเลือดส่วนเกินของร่างกาย หรือประมาณ 7% ของปริมาณเลือดทั้งหมดในร่างกาย โดยก่อนจะบริจาคจะมีการพิจารณาจากน้ำหนักตัวของผู้ให้บริจาคก่อน ดังนั้นเลือดที่เสียไปจะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ตรงกันข้ามกลับกระตุ้นให้ไขกระดูกผลิตเม็ดโลหิตใหม่ขึ้นมาแทน ระบบไหลเวียนของเลือดจะดีขึ้น ทำให้ร่างกายแข็งแรมตามมา แต่อย่าลืมว่าบริจาคเสร็จไม่ได้แข็งแรงทันทีถึงขนาดออกไปเตะบอลได้ของเหล่านี้ต้องใช้เวลาซักเล็กน้อย ที่สำคัญเมื่อบริจาคเสร็จแล้ว น้องๆ ควรนั่งพักและทานของว่างที่ทางเจ้าหน้าที่เตรียมไว้ให้ ให้ร่างกายปรับสภาพน้ำในร่างกายได้ก่อน แล้วค่อยเดินทางกลับ

ข้อดีข้อที่ 2 หุ่นดี เพรียวลม ผิวเปล่งปลั่ง
มีความเชื่อผิดๆ กันอยู่อย่างนึงว่าการบริจาคเลือดจะทำให้อ้วนขึ้น ทำให้สาวๆ ไม่ค่อยกล้าบริจาค แต่จากข้อมูลของ สสวท.ได้ออกมาเปิดเผยว่าเป็นความเชื่อที่ผิด การบริจาคเลือดไม่ได้ทำให้อ้วน แต่กลับทำให้ผู้บริจาคมีรูปร่างที่ดีขึ้นด้วยซ้ำไป นอกจากนี้เลือดใหม่ที่ถูกผลิตขึ้นรวมทั้งการไหลเวียนของเลือดที่ดีขึ้น จะช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง มีน้ำมีนวล และยังช่วยให้หน้าใสขึ้นด้วย ไม่ต้องกินวิตามินเสริม น้องๆ ก็สามารถมีผิวพรรณสดใสได้เหมือนกัน

ข้อดีข้อที่ 3 ลดความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งได้ด้วย
สถาบันคาโรลินสกา สตอคโฮล์ม สวีเดน ได้ศึกษาข้อมูลจากผู้บริจาคเลือดสวีเดนและเดนมาร์ค พบว่า การบริจาคเลือดช่วยลดความเสี่ยงจากมะเร็งได้หลายชนิดเลยค่ะ เช่น มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลเพิ่มเติมว่าในรายที่มีธาตุเหล็กในร่างกายมากเกินไป มีผลต่อการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตันหรือมะเร็งบางชนิด การบริจาคเลือดจะช่วยลดปริมาณธาตุเหล็กส่วนเกินเหล่านั้นออกไปได้ และที่เซอร์ไพร์สสุดๆ เลย ก็คือ ยิ่งเราบริจาคเลือดบ่อยเท่าไหร่ ความเสี่ยงโรคมะเร็งจะลดลงมากเท่านั้น โดยเฉพาะในเพศชายค่ะ แต่ความถี่ของการบริจาคเลือดระบุไว้ว่า เพศชายสามารถบริจาคได้ทุก 3 เดือน และเพศหญิงทุก 6 เดือน ดังนั้นอย่ากลัวมะเร็งจนวิ่งบริจาคทุกเดือนนะคะ ร่างกายจะรับไม่ไหวเอา

ข้อดีข้อที่ 4 มีสิทธิพิเศษสำหรับผู้บริจาคเลือด
ผู้บริจาคเลือดยังได้สิทธิพิเศษในเรื่องการรักษาพยาบาล ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่หลายคนยังไม่รู้ โดย

  1. ผู้บริจาคโลหิต 7 ครั้งขึ้นไป สามารถขอใช้สิทธิ์ช่วยเหลือค่าห้องพิเศษและค่าอาหารพิเศษได้ไม่เกินร้อยละ50 
  2. ผู้บริจาคโลหิต 9 ครั้งขึ้นไป สามารถขอใช้สิทธิ์ตรวจวิเคราะห์สารเคมีในโลหิตได้ เชน ตรวจหาน้ำตาล ไขมัน การทำงานของตับ การทำงานของไต เป็นต้น 
  3. ผู้บริจาคโลหติ 16 ครั้งขึ้นไป สามารถขอใช้สิทธิ์ช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล+ ค่าห้องพิเศษและค่าอาหาร ได้ร้อยละ 50 
  4. ผู้บริจาคโลหิต 24 ครั้งขึ้นไป สามารถขอใช้สิทธิ์ช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล100% + ค่าห้องพิเศษและค่าอาหาร ได้ร้อยละ 50 
  5. ผู้บริจาคโลหิต 100 ครั้งขึ้นไป สามารถขอใช้สิทธิ์ "ขอพระราชทานเพลิงศพ" ได้เป็นกรณีพิเศษ

ข้อดีทางกาย ได้มีการตรวจเช็คสุขภาพอย่างง่ายทุกครั้งที่บริจาคเลือด เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิตและตรวจความเข้มข้นของเลือด อีกทั้งการต้องตอบคำถามที่ขั้นตอนที่ 1 เกี่ยวกับความเสี่ยงต่างๆ ก็ช่วยกระตุ้นเตือนให้ผู้บริจาคเลือดไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัส ตับอักเสบชนิดบี, ไวรัสตับอักเสบชนิดซี, ซิฟิลิสและโรคเอดส์ หรือถึงพบว่าเป็น ก็จะได้รับจดหมายแจ้งจากศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยให้ไปตรวจวินิจฉัยยืนยันและทำการรักษา ช่วยให้ได้รับการรักษา แต่เนิ่นๆ การได้รับการวินิจฉัยเร็วเป็นผลดีทำให้ลดการแพร่กระจายของโรค ลดภาวะแทรกซ้อนและลดความพิการได้ ข้อดีทางจิตใจ ความรู้สึกว่าเป็นผู้ให้ ได้ทำทาน ได้ช่วยชีวิตคน ย่อมทำให้รู้สึกสุขใจ
ข้อดีทางสังคม ผู้บริจาคเลือดจะได้รับเข็มที่ระลึกในการบริจาคเลือดครั้งแรกและได้รับเข็ม ที่ระลึกเมื่อบริจาคเลือดครบจำนวนครั้งตามที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติกำหนด เช่น 36 ครั้ง, 48 ครั้ง, 60 ครั้ง, 72 ครั้ง เป็นต้น รวมทั้งได้เหรียญกาชาดสมนาคุณตามที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติกำหนด และหากบริจาคเลือดครบ 100 ครั้ง ก็จะได้รับการชักชวนให้เข้าเป็นสมาชิกชมรมผู้บริจาคเลือด 100 ครั้ง และร่วมทำกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อไป

ข้อดีทางจิตวิญญาณ การบริจาคโลหิตนอกจากให้ความรู้สึกดีเหมือนการให้ทานประเภทอื่นแล้ว ยังให้ความรู้สึกดีที่ได้ช่วยชีวิตผู้อื่นด้วย

มีสถิติที่น่าสนใจ คือ

ทุก ๆ ปี มีการบริจาคโลหิตถึง 107 ล้านครั้งต่อปี
ร้อยละ 65 ของการถ่ายโลหิตในประเทศรายได้ต่ำ ถูกใช้ไปกับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ
เป้าหมายขององค์การอนามัยโลก คือ ในปี ค.ศ. 2020 จะเป็นปีเป้าหมายสำหรับทุก ๆ ประเทศ เพื่อให้ได้รับโลหิตเต็มร้อยละ 100 จากอาสาสมัครบริจาคโลหิต

แสดงความคิดเห็น

ใหม่กว่า เก่ากว่า