![]() |
การล้างมือ |
แบคทีเรียเหล่านี้มีจำนวนมากพอที่จะทำให้คนทั่วไปเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และก่อให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้
นอกจากนี้ยังมีข้อมูลจากองค์การยูนิเซฟ ระบุว่า ในแต่ละปีมีเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ต้องเสียชีวิตจากโรคอุจจาระร่วงถึง 3.5 ล้านคน และโรคปอดบวมอีกประมาณ 2 ล้านคน ทั้งๆที่วิธีการที่จะลดอัตราการเสียชีวิตดังกล่าวไม่ใช่เรื่องยาก มีการศึกษาวิจัยพบว่า เพียงแค่ล้างมือด้วยน้ำและสบู่อย่างถูกวิธีจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคอุจจาระร่วงได้ถึง ร้อยละ 50 และจากโรคปอดบวมได้ถึงร้อยละ 25
คนไทยยังไม่ให้ความสำคัญในการล้างมือด้วยน้ำและสบู่เท่าที่ควร จำเป็นที่จะต้องกระตุ้นให้มีการล้างมือด้วยน้ำและสบู่กันมากขึ้น เพื่อป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคอันเกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ โดยเฉพาะโรคอุจจาระร่วง เฉพาะปีที่ผ่านมาพบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงสูงถึง 1,013,225 ราย
กรมอนามัย ได้มีการกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความตื่นตัวในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ซึ่งถ้าพิจารณาถึงความคุ้มค่าจากวิธีการป้องกันดังกล่าวแล้ว พบว่าไม่มีวิธีใดที่ดีไปกว่า “การล้างมือด้วยสบู่” ซึ่งทางกรมอนามัย ได้ให้ความสำคัญด้วยการรณรงค์เรื่องการล้างมืออย่างต่อเนื่อง โดยแนะนำให้ประชาชนล้างมือทุกครั้งภายหลังทำกิจกรรมต่างๆ เช่น หลังการจามหรือไอ หลังสัมผัสสิ่งสกปรกหรือสิ่งของที่ใช้ร่วมกับผู้อื่น หลังออกจากห้องส้วม และก่อนรับประทานอาหาร ฯลฯ
“ผลการสำรวจในแหล่งชุมชนที่มีผู้สัญจรในกรุงเทพมหานคร ปี 2552 พบว่าประชาชนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการล้างมือก่อนรับประทานอาหาร ร้อยละ 61 แต่มีการล้างมือด้วยน้ำและสบู่หลังเข้าส้วมเพียง ร้อยละ 8 ทำให้ยังพบการปนเปื้อนของเชื้อโรคในมือประมาณร้อยละ 12” แม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญของการล้างมือมากขึ้นถึง ร้อยละ 90 แต่ก็ยังมีวิธีการล้างมือที่ไม่ถูกต้อง คือ ล้างด้วยน้ำเปล่าถึง ร้อยละ 41 มีผลทำให้ยังมีการติดเชื้อแบคทีเรียจากมือที่ไปหยิบจับอาหาร วัสดุต่างๆที่มีเชื้อแบคทีเรียอยู่
เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ ทางปาก ทางจมูก และทางผิวหนัง หากเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ก็จะก่อให้เกิดโรคติดต่อ และโรคติดเชื้อหลายโรค โรคติดต่อที่เป็นกันมากโดยเฉพาะในเด็กเล็ก ได้แก่ โรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคท้องร่วง และโรคมือเท้าปาก เป็นต้น ซึ่ง “มือ” ถือเป็นอวัยวะสำคัญที่นำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
ทุกคนสัมผัสกับเชื้อโรคอยู่ตลอดเวลา เพราะเชื้อโรคมีอยู่ทุกหน ทุกแห่ง แม้แต่กระทั่งในอากาศที่เราหายใจ ดังนั้นเราจึงควรสร้างสุขอนามัยที่ดีด้วยการล้างมือด้วยสบู่เป็นประจำ และต้องล้างมือทันทีเมื่อทำกิจกรรม
หากเราสามารถล้างมือด้วยสบู่อย่างถูกสุขลักษณะสม่ำเสมอ และช่วยกันปลูกฝังทุกคนให้เห็นความสำคัญของการล้างมือตั้งแต่ยังเด็กก็จะช่วยลดการเจ็บป่วยลงได้
ในการรณรงค์เรื่องการล้างมือนั้น นอกจากภาครัฐแล้วในส่วนของภาคเอกชนก็ได้เข้ามามีส่วนร่วมสำคัญในการรณรงค์เรื่องการล้างมือเพื่อเป็นการสกัดต้นตอของการติดเชื้อโรค
“จากงานวิจัย พบว่า การล้างมืออย่างถูกสุขลักษณะด้วยสบู่จะช่วยลดการสะสมของแบคทีเรีย จะช่วยลดโอกาสติดเชื้อโรคต่างๆที่มีมือเป็นพาหะนำเชื้อโรคเข้าสู่ระบบต่างๆ ในร่างกายได้ โดยพบว่า โรคไข้หวัด โรคท้องร่วง โรคผิวหนังอักเสบ โรคตาแดง ลดลงถึง 50% หลังล้างมืออย่างถูกสุขลักษณะด้วยสบู่ นอกจากนี้ยังพบว่า การรณรงค์ยังต่อเนื่องส่งผลให้พฤติกรรมการล้างมือของเด็กนักเรียนเปลี่ยนไป โดยนักเรียนขยันล้างมือบ่อยขึ้นโดยที่ไม่ต้องบอกให้ล้างถึงร้อยละ 84”
การล้างมือ 7 ขั้นตอน
![]() |
ฟอกบริเวณฝ่ามือ |
![]() |
ฟอกฝ่ามือและง่ามนิ้วมือด้านหน้า |
![]() |
ฟอกหลังมือและง่ามนิ้วมือด้านหลัง |
![]() |
ฟอกนิ้วมือและข้อนิ้วมือด้านหลัง |
![]() |
ฟอกปลายนิ้วมือและเล็บ |
![]() |
ฟอกโคนนิ้วและนิ้วหัวแม่มือ |
![]() |
ฟอกรอบข้อมือ |
การล้างมืออย่างถูกสุขลักษณะเป็นประจำและสม่ำเสมอ ถือเป็นวิธีการป้องกันโรคติดเชื้อในทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ และการสัมผัสผ่านทางผิวหนังได้ แม้จะไม่ 100% แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการสกัดต้นตอของการติดเชื้อโดยเฉพาะแบคทีเรียลงได้มากทีเดียว
และมือเอง ก็เป็นสิ่งที่เราใช้ตลอดเวลาและโรคหลายโรคก็ติดต่อทางมือโดยมือเป็นตัวนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย การล้างมือเป็นวิธีการป้องกันโรคติดเชื้อทั้งทางเดินหายใจและการสัมผัส
โรคติดเชื้อที่ติดต่อผ่านทางมือที่พบบ่อยๆคือ
- โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เช่น หวัด วัณโรค ไข้หวัดใหญ่ โรคหัด หัดเยอรมัน
- โรคติดเชื้อทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย โรคตับอักเสบชนิดเอ โรคบิด อหิวาตกโรค
- โรคพยาธิชนิดต่างๆซึ่งติดต่อได้จากการที่มือปนเปื้อนเชื้อเหล่านี้แล้วหยิบจับอาหารเข้าไป
- โรคติดต่อทางการสัมผัสโดยตรง เช่น โรคตาแดง โรคเชื้อรา แผลอักเสบที่ผิวหนัง หิด เหา โรคเริม
- โรคที่ติดต่อได้หลายทาง เช่น โรคอีสุกอีใสอาจติดต่อได้จากการสัมผัสและจากการหายใจ
ควรล้างมือเมื่อไหร่
1.หลังการไอหรือจาม หรือไปสัมผัสสารคัดหลั่งมือเมื่อไหร่ของผู้ป่วย
2.ก่อนและหลังรับประทานอาหาร
3.ก่อนและหลังการเตรียมอาหาร
4.ก่อนและหลังการเข้าห้องนํ้า
5.ก่อนและหลังการสูบบุหรี่
6.ก่อนและหลังการทำงาน
7.เมื่อกลับจากทำงาน