เป็นโรคติดเชื้อเรื้อรังของปอดที่มีมานานนม โบราณเรียกว่า "ฝีในท้อง" เนื่องเพราะผู้ป่วยบางรายมีอาการไอออกมาเป็นเลือดซึ่งเข้าใจผิดว่าออกจากฝีที่อยู่ในท้อง
โรคนี้สามารถแพร่ให้คนที่อยู่ใกล้ชิด เช่น ภายในบ้าน หรือในที่ที่มีคนอยู่รวมกันแออัดหรือถ่ายเทอากาศไม่ดี
โรคนี้มียารักษาให้หายขาด ซึ่งต้องกินติดต่อกันนานอย่างน้อย 6 เดือน
ในปัจจุบันมีการแพร่กระจายของโรคนี้มากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ติดเชื้อเอดส์ และมีปัญหาเชื้อดื้อยาเนื่องจากผู้ป่วยกินยาไม่ถูกต้อง
ชื่อภาษาไทย
วัณโรคปอด วัณโรค ทีบี โรคปอด
ชื่อภาษาอังกฤษ
Pulmonary tuberculosis (TB)
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อวัณโรค ชึ่งเป็นแบคทีเรียที่มีชื่อว่า ไมโคแบคทีเรียทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium tuberculosis) เชื้อนี้ติดต่อโดยการหายใจ สูดเอาฝอยละอองเสมหะที่ผู้ป่วยปล่อยออกมาแขวนลอยอยู่ในอากาศขณะไอ จาม พูด หัวเราะ หรือร้องเพลง เชื้อในฝอยละอองเสมหะสามารถมีชีวิตอยู่ในอากาศได้นานหลายชั่วโมง ผู้ที่จะรับเชื้อให้ได้ปริมาณมากพอจนถึงขั้นติดเชื้อเป็นโรคได้ จะต้องอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยเป็นเวลานาน เช่น อยู่ในบ้านเดียวกัน หรือห้องเดียวกัน
หลังติดเชื้อ 2-8 สัปดาห์ ร่างกายจะมีการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา คนส่วนหนึ่งสามารถกำจัดเชื้อได้หมดก็ไม่เป็นโรค
ส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก ไม่สามารถกำจัดเชื้อได้ ก็จะกลายเป็นโรคภายหลังการติดเชื้อไม่นาน
ส่วนหนึ่ง กำจัดเชื้อได้ไม่หมด เชื้อจะหลบซ่อนอยู่ในปอดอย่างสงบ (บางรายเชื้ออาจแพร่กระจายจากปอดไปตามกระแสเลือด แล้วเข้าไปฝังตัวอยู่ในอวัยวะต่างๆ) โดยไม่มีอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้น เรียกว่า "การติดเชื้อโรคแฝง" (latent tuberculosis infection) ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 10 ของคนกลุ่มนี้จะกลายเป็นวัณโรคในระยะต่อมา ซึ่งกว่าครึ่งหนึ่งจะเกิดอาการของโรคขึ้นภายใน 2 ปีหลังติดเชื้อ ที่เหลือจะเป็นโรคหลังจาก 2 ปีไปแล้ว บางรายอาจกลายเป็นวัณโรคในระยะหลายปี หรือนับเป็นสิบๆ ปีต่อมา ทั้งนี้เกี่ยวข้องกับภาวะภูมิคุ้มกันของร่างกาย กล่าวคือ ตราบใดที่ภูมิคุ้มกันยังแข็งแรง ก็จะไม่เกิดโรคขึ้นมา แต่เมื่อใดที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เชื้อที่หลบซ่อนอยู่ก็จะเกิดการแบ่งตัวเพิ่มจำนวน (เรียกว่าการปลุกฤทธิ์คืน หรือ reactivation) จนทำให้เป็นโรคขึ้นได้
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นวัณโรค ได้แก่
ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ที่พบบ่อยคือผู้ป่วยเอดส์ (มีโอกาสเป็นวัณโรคในตลอดช่วงชีวิตถึงร้อยละ 50 หรือมากกว่าร้อยละ 10 ต่อปี) เบาหวาน ไตวาย ผู้ที่กินยาสตีร้อยด์นานๆ หรือใช้ยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยติดเชื้อบางชนิด (เช่น หัด ไอกรน ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น) ผู้ที่ตรากตรำทำงานหนักหรือมีความเครียดสูง
ผู้ติดยาเสพติดหรือแอลกอฮอล์
ผู้ที่มีภาวะขาดอาหาร คนจรจัด
ผู้ที่อยู่ในสถานที่แออัด การระบายอากาศไม่ดี เช่น เรือนจำ ศูนย์อพยพ เป็นต้น
ผู้ที่สัมผัสผู้ป่วยเป็นระยะเวลายาวนาน เช่น สมาชิกในบ้านผู้ป่วย เพื่อนร่วมห้องพัก หรือห้องทำงาน
บุคคลากรสาธารณสุขที่ให้การดูแลพยาบาลผู้ป่วย
ผู้สูงอายุ(พบอุบัติการณ์สูงในกลุ่มอายุมากกว่า 65ปี)
ทารกแรกเกิด
อาการ
ที่สำคัญคือ อาการไข้และไอเรื้อรังมานานเป็นสัปดาห์ ถึงเป็นแรมเดือน
แรกเริ่มผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่หรือหลอดลมอักเสบ โดยมีอาการไอเป็นหลัก ระยะแรกเป็นลักษณะไอแห้งๆ ต่อมาจะไอมีเสมหะเป็นสีเหลืองหรือเขียว มักมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้ต่ำๆ ตอนบ่ายๆ อ่อนเพลีย เบื่ออาหารร่วมด้วย อาจมีอาการเหงื่ออกตอนกลางคืน บางครั้งอาจมีมากจนโชกเสื้อผ้าและที่นอน ผู้ป่วยมักชื้อยารหือหาหมอมารักษาแต่อาการไม่ทุเลา จะมีอาการต่อเนื่อง 2-3 สัปดาห์หรือเป็นแรมเดือน ผู้ป่วยจะมีอาการไอถี่ขึ้น อ่อนเพลีย เบื่ออาหารมากขึ้น น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว
ผู้ป่วยอาจมีอาการไอออกมาเป็นเลือดสีแดงๆ หรือ ดำๆ ซึ่งมักจะออกปริมาณไม่มาก มีน้อยรายมากที่อาจมีเลือดออกจนซีด หรือเป็นลม หน้ามืด มือเท้าเย็น
บางรายอาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวกหรือหอบเหนื่อยง่าย หรือเจ็บหน้าอกเวลาหายใจเข้าลึกๆ เนื่องจากมีอาการมีน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด เยื่อหุ้มปอดอักเสบ หรือโรคลุกลามไปทั่วปอด
บางรายอาจมีอาการไข้นานเป็นแรมเดือน โดยไม่มีอาการไอหรืออาการอื่นๆ ชัดเจนก็ได้
ในรายที่เป็นวัณโรคปอดเพียงเล็กน้อย อาจไม่มีอาการอะไรเลย และมักตรวจพบโดยบังเอิญจากการเห็น "จุด" ในปอดจากภาพถ่ายรังสี (ภาพเอกซเรย์)
การแยกโรค
1. ในรายที่มีอาการไข้ (ตัวร้อน) ทุกวันติดต่อกันนานเป็นสัปดาห์ๆ หรือแรมเดือน ก็อาจเกิดจากโรคอื่นๆ เช่น
เอดส์ ผู้ป่วยจะมีอาการน้ำหนักลด ท้องเดินเรื้อรัง ต่อมน้ำเหลืงโตหลายแห่ง เช่น ที่ข้างคอ รักแร้ ขาหนีบ อาจมีอาการทางผิวหนัง (เช่น โรคเริม งูสวัด ผื่นคันตามผืวหนัง) ลิ้นเป็นฝ้าขาวจากโรคเชื้อรา ไอเรื้อรัง หรืออาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย
เมลิออยโดซิส (เกิดจากโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Burkholderia pseudomallei พบมากทางภาคอีสาน) ผู้ป่วยอาจมีอาการไข้ และไอเรื้อรัง น้ำหนักลดคล้ายวัณโรคได้ จะแยกได้โดยการตรวจพบเชื้อต้นเหตุ
มาลาเลีย ผู้ป่วยอาจมีไข้หนาวสั่น มีประวัติอยู่หรือกลับจากเขตป่าเขาที่ยังมีการระบาดของโรคนี้
โรคภูมิต้านตนเอง เช่น เอสเอลอี (SLE) ผู้ป่วยจะมีไข้เรื่้อรัง ผมร่วง ปวดตามข้อ มีฝ้าแดงที่โหนกแก้ม 2 ข้าง
มะเร็ง เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น
2. ในรายที่มีอาการไอเป็นเลือด อาจเกิดจากมะเร็งปอด(ผู้ป่วยจะมีอาการไอ เจ็บหน้าอก น้ำหนักลด อาจมีไข้ร่วมด้วย) หลอดลมพอง (bronchiectasis ผู้ป่วยมักมีอาการไอเรื้อรังทุกวัน ออกเป็นเสมหะเหลืองหรือเขียวเป็นจำนวนมาก มีกลื่นเหม็น ไอออกเป็นเลือดสดมักไม่มีไข้ และน้ำหนักไม่ลด)
3. อาการไอเรื้อรังเป็นสัปดาห์ๆ หรือแรมเดือนอาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น
โรคภูมิแพ้ ผู้ป่วยจะมีอาการจาก คันคอ คันจมูก อาจมีน้ำมูกใสร่วมด้วย มักไอเวลาสัมผัสถูกสิ่งที่แพ้ เช่น ฝุ่น ความเย็น ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ นุ่น เป็นต้น
โรคกรดไหลย้อน ผู้ป่วยมักจะไอหลังอาหารทุกมื้อ หรือตอนเข้านอน อาจมีอาการเจ็บคอหรือเสียงแหบตอนเช้าหรือหลังตื่นนอน พอสาย ๆ ค่อยทุเลาหรืออาจมีอาการจุกแน่น หรือปวดแสบตรงลิ้นปี่ หลังกินอาหาร
หลอดลมอักเสบ มักพบหลังจากเป็นไข้หวัด ผู้ป่วยจะมีอาการไอเวลาถูกสิ่งระคายเคือง เช่น ความเย็น อากาศ ฝุ่น ควัน นาน 1 - 3 เดือน โดยที่สุขภาพทั่วไปเป็นปกติ กินได้ น้ำหนักไม่ลด ไม่มีไข้
ถุงลมปอดโป่งพอง ผู้ป่วยมักอยู่ในวันกลางคนขึ้นไป มีประวัติสูบบุหรี่จัดมานาน เวลาทำอะไรรู้สึกเหนื่อยง่ายอยู่เรื่อยๆ
การวินิจฉัย
แพทย์จะวินิจฉัยเบื้องต้น จากที่ผู้ป่วยมีอาการเป็นไข้และไอนานเกิน 1-2 สัปดาห์ขึ้นไป เบื่ออาการน้ำหนักลด ไอออกเป็นเลือด
หากสงสัย จะยืนยันด้วยการเอกซเรย์ปอด ซึ่งจะพบรอยโรคที่กลีบปอดส่วนบนเป็นส่วนใหญ่
นอกจากนี้จะทำการตรวจหาเชื้อในเสมหะ อย่างน้อย 3 ครั้ง
บางรายอาจทำการทดสอบผิวหนัง ดังที่เรีกว่า "การทดสอบทูเบอร์คูลิน (tuberculin test)" เพื่อยืนยันการติดเชื้อ อาจนำเสมหะไปเพาะหาเชื้อ หรือตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อวัณโรคโดยเทคนิค CPR เป็นต้น
การดูแลตนเอง
1.เมื่อมีอาการที่สงสัยจะเป็นวัณโรคปอด ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ ถ้าตรวจพบว่าเป็นโรคนี้จริงก็ควรปฏิบัติตัวดังนี้
ควรไปพบแพทย์ตามนัด และกินยาให้ครบทุกวันตามที่แพทย์กำหนด
พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ
กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารพวกโปรตีน (เนื้อ นม ไข่ ถั่วต่างๆ)
งดบุหรี่ แอลกอฮอล์ และยาเสพติด
จัดบ้านและห้องนอนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกและแสงแดดส่องถึง
เวลาไอหรือจาม ควรใช้ผ้าหรือกระดาษทิชชูปิดปาก
ควรบ้วนเสมหะลงในภาชนะหรือประป๋องที่มีฝาปิดสนิทมิดชิด แล้วนำเสมหะไปเผาไฟหรือฝังดิน
ควรแยกออกจากผู้อื่น เช่น แยกห้องนอน อย่าอยู่ใกล้ชิดกับคนอื่น อย่าเข้าไปในห้างสรรพสินค้า รถโดยสารสาธารณะ สถานบันเทิง ที่ชุมนุมชน และควรแยกถ้วย ชาม สำรับอาหารและเครื่องใช้ออกต่างหาก จนกว่าจะกินยารักษาวัณโรคทุกวันแล้วอย่างน้อย 2 สัปดาห์ และหายไอแล้ว ระหว่างนี้หากจำเป็นต้องเข้าใกล้คนอื่นหรือเข้าไปในที่ชุมนุมชน ควรใช้หน้ากากอนามัยปิดปากและจมูก
สำหรับแม่ที่เป็นวัณโรคปอด ควรแยกออกห่างจากลูก อย่ากอดจูบลูก และไม่ให้ลูกดูดนมตัวเองจนกว่าจะตรวจไม่พบเชื้อแล้ว
ผู้ป่วยที่ต้องทำงานกับกลุ่มเสี่ยง เช่นผู้ป่วยเอดส์ เด็กเล็ก ควรแยกออกห่างจากคนเหล่านี้จนกว่าจะไม่พบเชื้อแล้ว
ควรสังเกตุอาการข้างเคียงจากยา เช่นผื่นคัน คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ดีซ่าน (ตาเหลือง) ตามัว หูอื้อ มีไข้ขึ้น ฯลฯ หากสงสัยควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด
2.ถ้ามีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคปอดควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจดูว่ามีการติดเชื้อวัณโรคหรือเป็นโรคนี้หรือยัง แพทย์จะได้หาทางรักษาหรือป้องกันโรคนี้
การรักษา
เมื่อวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคปอด แพทย์จะให้ยารักษาวัณโรค โดยทั่วไปจะให้สูตรยากิน 6 เดือน 2 เดือนแรกใช้ยา 4 ชนิด ได้แก่ ไอเอ็นเอช (INH) ไรแฟมพิซิน (rifampicin) ไพราซินาไมด์ (pyrazinamide) และอีแทมบูทอล (ethambutol) บางรายอาจใช้ สเตรปโตไมซิน ชนิดฉีดแทนอีแทมบูทอล แล้วต่อด้วยยา 2 ชนิด ได้แก่ ไอเอ็นเอช และไรแฟมพิซิน อีก 4 เดือน
แพทย์จะย้ำเตือนให้ผู้ป่วยกินยาให้ตรงเวลาทุกวันห้ามลืมหรือเว้นบางมื้อบางวัน กำชับให้ญาติช่วยดูแลให้ผู้ป่วยกินยาได้สม่ำเสมอ มิเช่นนั้นอาจทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยา ทำให้รักษาไม่ได้ผล หรือต้องเปลื่ยนไปใช้ยาสูตรที่แรงขึ้น
ส่วนผู้ป่วยที่เป็นเอดส์ร่วมกับวัณโรคปอด นอกจากให้ยาต้านไวรัสเอดส์แล้ว ยังต้องให้ยารักษาวัณโรค (ซึ่งเปลี่ยนแปลงสูตรยาที่แตกต่างกันออกไป) เป็นเวลานาน 9 เดือน
แพทย์จะนัดผู้ป่วยมาติดตามผลการรักษาอย่างใกล้ชิด โดยทั่วไปเมื่อใช้ยาได้ 2 สัปดาห์ อาการไข้และไอจะเริ่มทุเลา กินข้าวได้ และน้ำหนักขึ้น
แพทย์จะทำการตรวจเสมหะ (ดูว่าเชื้อหายหมดหรือยัง) เป็นระยะๆ เช่น เมื่อกินยาครบ 2 เดือน 5 เดือน และเมื่อสิ้นสุดการใช้ยารักษา นอกจากนี้อาจทำการเอกซเรย์ปอดดูว่ารอยโรคหายดีหรือยัง
ส่วนผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดตับอักเสบ เช่น ผู้ป่วยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ มีประวัติเป็นโรคตับอยู่ก่อน หรืออายุมากกว่า 35 ปี เมื่อกินยารักษาวัณโรค ซึ่งอาจทำให้ตับอักเสบได้ แพทย์จะทำการตรวจเลือดดูระดับเอนไซม์ตับ (AST, ALT) เพื่อดูว่ามีการอักเสบของตับเกิดขึ้นหรือไม่
ภาวะแทรกซ้อน
โรคที่เกิดในปอด อาจลุกลามจนกลายเป็นภาวะมีน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด ภาวะมีลมในโพรงเยื่อหุ้มปอดถุงลมปอดโป่งพอง ฝีปอด (lung abscess) ไอออกเป็นเลือดมากถึงช็อก
เชื้อวัณโรคอาจแพร่กระจายผ่านกระแสเลือดไปทั่วร่างกาย กลายเป็นวัณโรคขออวัยวะต่างๆ ซึ่งอาจพบร่วมกับวัณโรคปอดหรือไม่ก็ได้ เช่น
วัณโรคต่อมน้ำเหลือง พบบ่อยที่ข้างคอ มีลักษณะเป็นก้อนบวมที่ข้างคอ นุ่ม ไม่มีอาการปวดเจ็บปวดอาจแตกมีหนองไหลเรื้อรัง โบราณเรียกฝีประคำร้อยไม่มีอาการเจ็บปวด
เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากวัณโรค มีอาการไข้ปวดศรีษะรุนแรง อาเจียนรุนแรง ซึม ชัก คอแข็ง
วัณโรคกระดูก เช่น วัณโรคข้อเข่า (มีไข้เรื้อรังข้อบวมแดงร้อน) วัณโรคกระดูกสันหลัง (มีอาการปวดหลังเรื้อรัง หลังคดโก่ง กดเจ็บ อาจมีอาการขาอ่อนแรง)
วัณโรคกล่องเสียง มีอาการเสียงแหบเรื้อรัง
วัณโรคลำไส้ มีอาการปวดท้องและท้องเดินเรื้อรัง น้ำหนักลด อาจคลำได้ก้อนในท้อง ถ้าลุกลามไปที่เยื่อบุช่องท้องทำให้เกิดอาการท้องมาน
วัณโรคไต ทำให้เป็นกรวยไตอักเสบเรื้อรังตรวจพบเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะให้ยาปฏิชีวนะ (ที่ไม่ใช่ยารักษาวัณโรค) หลายชนิดแล้วก็ไม่หาย
วัณโรคเยื่อหุ้มหัวใจ มีอาการไข้ คอบวม หายใจหอบเหนื่อย
นอกจากนี้ ถ้าเกิดในทารกและเด็กเล็ก อาจกลายเป็นวัณโรคชนิดแพร่กระจาย (miliary tuberculosis) ซึ่งจะมีเชื้อปริมาณมากแพร่กระจายตามกระแสเลือดไปทั่วร่างกาย ผู้ป่วยจะมีไข้เป็นๆ หายๆ เรื้อรังน้ำหนักลด หายใจลำบาก อาจมีภาวะซีด หรือเลือดออก
การดำเนินโรค
หากไม่ได้รับการรักษา ก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวข้างต้น
ถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจจะทุเลาภายใน 1-2 สัปดาห์ ถึงแม้ว่าจะรู้สึกสบายดี ผู้ป่วยก็จำเป็นต้องกินยาให้ครบ 6-9 เดือน ตามสูตรยาที่แพทย์แนะนำ ก็จะช่วยให้หายขาดได้ แต่ถ้ากินไม่ครบหรือกินๆ หยุดๆ ก็มักทำให้เชื้อดื้อยา การรักษาก็จะมีความยุ่งยากมากขึ้น หากมีการดื้อยาหลายขนาน โรคก็อาจเป็นเรื้อรังและเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
การป้องกัน
1.ฉีดวัคซีนบีซีจี (BCG) ซึ่งนิยมฉีดให้ทารกตั้งแต่แรกเกิด วัคซีนชนิดนี้มีประสิทธิผลในการป้องกันวัณโรคชนิดแพร่กระจาย ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กเล็ก แต่อาจป้องกันวัณโรคปอดไม่ได้เต็มที่ ผู้ที่เคยฉีดวัคซีนบีซีจีมาแล้วก็ยังมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นวัณโรคปอด
2.คนทั่วไปควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยการพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายเป็นประจำ ละเว้นจากการสูบบุหรี่การดื่มแอลกอฮอล์จัด และการใช้ยาเสพติด หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์
3.เมื่อมีผู้ป่วยอยู่ในบ้านเดียวกัน ควรกำชับให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวตามคำแนะนำการแพทย์ (ดูหัวข้อ "การดูแลตนเอง") ช่วงที่ผู้ป่วยกินยารักษาวัณโรคไม่ถึง 2 สัปดาห์ หรือยังไม่หายไอ ควรหลีกเลี่ยงการนอนอยู่ห้องเดียวกับผู้ป่วยถ้าจำเป็นต้องดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดควรสวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องการติดเชื้อ
4.ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยและผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ แม้ว่ารู้สึกสบายดีก็ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการทดสอบทูเบอร์คูลิน (สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรทำการทดสอบ ทุก 6 เดือน) ถ้าพบว่าให้ผลบวกซึ่งแสดงว่าเป็นผู้ติดเชื้อวัณโรค แพทย์จะพิจารณาให้กินไอเอ็นเอชป้องกัน ขนาด 300 มก./วัน (เด็ก 10มก./กก./วัน) วันละครั้ง นาน 9-12 เดือน
ตัวอย่างผู้ที่ควรกินไอเอ็นเอชป้องกัน เช่น
ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคระยะติดต่อ ผู้ที่พบรอยโรคในปอดจากภาพถ่ายรังสี ซึ่งมีผลการทดสอบทูเบอร์คูลินขนาด มากกว่าหรือเท่ากับ 5 มม. ควรกินยาป้องกันนานอย่างน้อย 12 เดือน
เด็กอายุต่ำกว่า 4 ขวบ ผู้ที่ฉีดยาเสพติดหรือติดแอลกอฮอล์ ผู้ป่วยเบาหวาน ไตวายเรื้อรัง มะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ผู้ที่อยู่ในสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูง (เช่น นักโทษในเรือนจำ ผู้สูงอายุในสถานพักฟื้น บุคลากรที่ดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล เป็นต้น) ซึ่งมีการทดสอบ ทูเบอร์คูลินขนาด มากกว่าหรือเท่ากับ 10 มม.
บุคคลทั่วไปที่ไม่ได้เป็นกลุ่มเสี่ยง ซึ่งมีผลการทดสอบทูเบอร์คูลินขนาดมากกว่าหรือเท่ากับ 15 มม.
ความชุก
โรคนี้พบได้บ่อยในคนทุกกลุ่มวัย พบมากในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเอดส์ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ (ดูหัวข้อ "สาเหตุ") และมักพบในคนที่มีฐานะยากจนหรืออยู่กันอย่างแออัด
โดย นพ.สุรเกียรติ อาชานุภาพ
ที่มา : นิตยสารหมอชาวบ้าน ฉบับที่ 380 ธันวาคม 2553
โรคนี้สามารถแพร่ให้คนที่อยู่ใกล้ชิด เช่น ภายในบ้าน หรือในที่ที่มีคนอยู่รวมกันแออัดหรือถ่ายเทอากาศไม่ดี
โรคนี้มียารักษาให้หายขาด ซึ่งต้องกินติดต่อกันนานอย่างน้อย 6 เดือน
ในปัจจุบันมีการแพร่กระจายของโรคนี้มากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ติดเชื้อเอดส์ และมีปัญหาเชื้อดื้อยาเนื่องจากผู้ป่วยกินยาไม่ถูกต้อง
ชื่อภาษาไทย
วัณโรคปอด วัณโรค ทีบี โรคปอด
ชื่อภาษาอังกฤษ
Pulmonary tuberculosis (TB)
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อวัณโรค ชึ่งเป็นแบคทีเรียที่มีชื่อว่า ไมโคแบคทีเรียทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium tuberculosis) เชื้อนี้ติดต่อโดยการหายใจ สูดเอาฝอยละอองเสมหะที่ผู้ป่วยปล่อยออกมาแขวนลอยอยู่ในอากาศขณะไอ จาม พูด หัวเราะ หรือร้องเพลง เชื้อในฝอยละอองเสมหะสามารถมีชีวิตอยู่ในอากาศได้นานหลายชั่วโมง ผู้ที่จะรับเชื้อให้ได้ปริมาณมากพอจนถึงขั้นติดเชื้อเป็นโรคได้ จะต้องอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยเป็นเวลานาน เช่น อยู่ในบ้านเดียวกัน หรือห้องเดียวกัน
หลังติดเชื้อ 2-8 สัปดาห์ ร่างกายจะมีการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา คนส่วนหนึ่งสามารถกำจัดเชื้อได้หมดก็ไม่เป็นโรค
ส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก ไม่สามารถกำจัดเชื้อได้ ก็จะกลายเป็นโรคภายหลังการติดเชื้อไม่นาน
ส่วนหนึ่ง กำจัดเชื้อได้ไม่หมด เชื้อจะหลบซ่อนอยู่ในปอดอย่างสงบ (บางรายเชื้ออาจแพร่กระจายจากปอดไปตามกระแสเลือด แล้วเข้าไปฝังตัวอยู่ในอวัยวะต่างๆ) โดยไม่มีอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้น เรียกว่า "การติดเชื้อโรคแฝง" (latent tuberculosis infection) ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 10 ของคนกลุ่มนี้จะกลายเป็นวัณโรคในระยะต่อมา ซึ่งกว่าครึ่งหนึ่งจะเกิดอาการของโรคขึ้นภายใน 2 ปีหลังติดเชื้อ ที่เหลือจะเป็นโรคหลังจาก 2 ปีไปแล้ว บางรายอาจกลายเป็นวัณโรคในระยะหลายปี หรือนับเป็นสิบๆ ปีต่อมา ทั้งนี้เกี่ยวข้องกับภาวะภูมิคุ้มกันของร่างกาย กล่าวคือ ตราบใดที่ภูมิคุ้มกันยังแข็งแรง ก็จะไม่เกิดโรคขึ้นมา แต่เมื่อใดที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เชื้อที่หลบซ่อนอยู่ก็จะเกิดการแบ่งตัวเพิ่มจำนวน (เรียกว่าการปลุกฤทธิ์คืน หรือ reactivation) จนทำให้เป็นโรคขึ้นได้
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นวัณโรค ได้แก่
ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ที่พบบ่อยคือผู้ป่วยเอดส์ (มีโอกาสเป็นวัณโรคในตลอดช่วงชีวิตถึงร้อยละ 50 หรือมากกว่าร้อยละ 10 ต่อปี) เบาหวาน ไตวาย ผู้ที่กินยาสตีร้อยด์นานๆ หรือใช้ยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยติดเชื้อบางชนิด (เช่น หัด ไอกรน ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น) ผู้ที่ตรากตรำทำงานหนักหรือมีความเครียดสูง
ผู้ติดยาเสพติดหรือแอลกอฮอล์
ผู้ที่มีภาวะขาดอาหาร คนจรจัด
ผู้ที่อยู่ในสถานที่แออัด การระบายอากาศไม่ดี เช่น เรือนจำ ศูนย์อพยพ เป็นต้น
ผู้ที่สัมผัสผู้ป่วยเป็นระยะเวลายาวนาน เช่น สมาชิกในบ้านผู้ป่วย เพื่อนร่วมห้องพัก หรือห้องทำงาน
บุคคลากรสาธารณสุขที่ให้การดูแลพยาบาลผู้ป่วย
ผู้สูงอายุ(พบอุบัติการณ์สูงในกลุ่มอายุมากกว่า 65ปี)
ทารกแรกเกิด
อาการ
ที่สำคัญคือ อาการไข้และไอเรื้อรังมานานเป็นสัปดาห์ ถึงเป็นแรมเดือน
แรกเริ่มผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่หรือหลอดลมอักเสบ โดยมีอาการไอเป็นหลัก ระยะแรกเป็นลักษณะไอแห้งๆ ต่อมาจะไอมีเสมหะเป็นสีเหลืองหรือเขียว มักมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้ต่ำๆ ตอนบ่ายๆ อ่อนเพลีย เบื่ออาหารร่วมด้วย อาจมีอาการเหงื่ออกตอนกลางคืน บางครั้งอาจมีมากจนโชกเสื้อผ้าและที่นอน ผู้ป่วยมักชื้อยารหือหาหมอมารักษาแต่อาการไม่ทุเลา จะมีอาการต่อเนื่อง 2-3 สัปดาห์หรือเป็นแรมเดือน ผู้ป่วยจะมีอาการไอถี่ขึ้น อ่อนเพลีย เบื่ออาหารมากขึ้น น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว
ผู้ป่วยอาจมีอาการไอออกมาเป็นเลือดสีแดงๆ หรือ ดำๆ ซึ่งมักจะออกปริมาณไม่มาก มีน้อยรายมากที่อาจมีเลือดออกจนซีด หรือเป็นลม หน้ามืด มือเท้าเย็น
บางรายอาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวกหรือหอบเหนื่อยง่าย หรือเจ็บหน้าอกเวลาหายใจเข้าลึกๆ เนื่องจากมีอาการมีน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด เยื่อหุ้มปอดอักเสบ หรือโรคลุกลามไปทั่วปอด
บางรายอาจมีอาการไข้นานเป็นแรมเดือน โดยไม่มีอาการไอหรืออาการอื่นๆ ชัดเจนก็ได้
ในรายที่เป็นวัณโรคปอดเพียงเล็กน้อย อาจไม่มีอาการอะไรเลย และมักตรวจพบโดยบังเอิญจากการเห็น "จุด" ในปอดจากภาพถ่ายรังสี (ภาพเอกซเรย์)
การแยกโรค
1. ในรายที่มีอาการไข้ (ตัวร้อน) ทุกวันติดต่อกันนานเป็นสัปดาห์ๆ หรือแรมเดือน ก็อาจเกิดจากโรคอื่นๆ เช่น
เอดส์ ผู้ป่วยจะมีอาการน้ำหนักลด ท้องเดินเรื้อรัง ต่อมน้ำเหลืงโตหลายแห่ง เช่น ที่ข้างคอ รักแร้ ขาหนีบ อาจมีอาการทางผิวหนัง (เช่น โรคเริม งูสวัด ผื่นคันตามผืวหนัง) ลิ้นเป็นฝ้าขาวจากโรคเชื้อรา ไอเรื้อรัง หรืออาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย
เมลิออยโดซิส (เกิดจากโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Burkholderia pseudomallei พบมากทางภาคอีสาน) ผู้ป่วยอาจมีอาการไข้ และไอเรื้อรัง น้ำหนักลดคล้ายวัณโรคได้ จะแยกได้โดยการตรวจพบเชื้อต้นเหตุ
มาลาเลีย ผู้ป่วยอาจมีไข้หนาวสั่น มีประวัติอยู่หรือกลับจากเขตป่าเขาที่ยังมีการระบาดของโรคนี้
โรคภูมิต้านตนเอง เช่น เอสเอลอี (SLE) ผู้ป่วยจะมีไข้เรื่้อรัง ผมร่วง ปวดตามข้อ มีฝ้าแดงที่โหนกแก้ม 2 ข้าง
มะเร็ง เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น
2. ในรายที่มีอาการไอเป็นเลือด อาจเกิดจากมะเร็งปอด(ผู้ป่วยจะมีอาการไอ เจ็บหน้าอก น้ำหนักลด อาจมีไข้ร่วมด้วย) หลอดลมพอง (bronchiectasis ผู้ป่วยมักมีอาการไอเรื้อรังทุกวัน ออกเป็นเสมหะเหลืองหรือเขียวเป็นจำนวนมาก มีกลื่นเหม็น ไอออกเป็นเลือดสดมักไม่มีไข้ และน้ำหนักไม่ลด)
3. อาการไอเรื้อรังเป็นสัปดาห์ๆ หรือแรมเดือนอาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น
โรคภูมิแพ้ ผู้ป่วยจะมีอาการจาก คันคอ คันจมูก อาจมีน้ำมูกใสร่วมด้วย มักไอเวลาสัมผัสถูกสิ่งที่แพ้ เช่น ฝุ่น ความเย็น ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ นุ่น เป็นต้น
โรคกรดไหลย้อน ผู้ป่วยมักจะไอหลังอาหารทุกมื้อ หรือตอนเข้านอน อาจมีอาการเจ็บคอหรือเสียงแหบตอนเช้าหรือหลังตื่นนอน พอสาย ๆ ค่อยทุเลาหรืออาจมีอาการจุกแน่น หรือปวดแสบตรงลิ้นปี่ หลังกินอาหาร
หลอดลมอักเสบ มักพบหลังจากเป็นไข้หวัด ผู้ป่วยจะมีอาการไอเวลาถูกสิ่งระคายเคือง เช่น ความเย็น อากาศ ฝุ่น ควัน นาน 1 - 3 เดือน โดยที่สุขภาพทั่วไปเป็นปกติ กินได้ น้ำหนักไม่ลด ไม่มีไข้
ถุงลมปอดโป่งพอง ผู้ป่วยมักอยู่ในวันกลางคนขึ้นไป มีประวัติสูบบุหรี่จัดมานาน เวลาทำอะไรรู้สึกเหนื่อยง่ายอยู่เรื่อยๆ
การวินิจฉัย
แพทย์จะวินิจฉัยเบื้องต้น จากที่ผู้ป่วยมีอาการเป็นไข้และไอนานเกิน 1-2 สัปดาห์ขึ้นไป เบื่ออาการน้ำหนักลด ไอออกเป็นเลือด
หากสงสัย จะยืนยันด้วยการเอกซเรย์ปอด ซึ่งจะพบรอยโรคที่กลีบปอดส่วนบนเป็นส่วนใหญ่
นอกจากนี้จะทำการตรวจหาเชื้อในเสมหะ อย่างน้อย 3 ครั้ง
บางรายอาจทำการทดสอบผิวหนัง ดังที่เรีกว่า "การทดสอบทูเบอร์คูลิน (tuberculin test)" เพื่อยืนยันการติดเชื้อ อาจนำเสมหะไปเพาะหาเชื้อ หรือตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อวัณโรคโดยเทคนิค CPR เป็นต้น
การดูแลตนเอง
1.เมื่อมีอาการที่สงสัยจะเป็นวัณโรคปอด ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ ถ้าตรวจพบว่าเป็นโรคนี้จริงก็ควรปฏิบัติตัวดังนี้
ควรไปพบแพทย์ตามนัด และกินยาให้ครบทุกวันตามที่แพทย์กำหนด
พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ
กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารพวกโปรตีน (เนื้อ นม ไข่ ถั่วต่างๆ)
งดบุหรี่ แอลกอฮอล์ และยาเสพติด
จัดบ้านและห้องนอนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกและแสงแดดส่องถึง
เวลาไอหรือจาม ควรใช้ผ้าหรือกระดาษทิชชูปิดปาก
ควรบ้วนเสมหะลงในภาชนะหรือประป๋องที่มีฝาปิดสนิทมิดชิด แล้วนำเสมหะไปเผาไฟหรือฝังดิน
ควรแยกออกจากผู้อื่น เช่น แยกห้องนอน อย่าอยู่ใกล้ชิดกับคนอื่น อย่าเข้าไปในห้างสรรพสินค้า รถโดยสารสาธารณะ สถานบันเทิง ที่ชุมนุมชน และควรแยกถ้วย ชาม สำรับอาหารและเครื่องใช้ออกต่างหาก จนกว่าจะกินยารักษาวัณโรคทุกวันแล้วอย่างน้อย 2 สัปดาห์ และหายไอแล้ว ระหว่างนี้หากจำเป็นต้องเข้าใกล้คนอื่นหรือเข้าไปในที่ชุมนุมชน ควรใช้หน้ากากอนามัยปิดปากและจมูก
สำหรับแม่ที่เป็นวัณโรคปอด ควรแยกออกห่างจากลูก อย่ากอดจูบลูก และไม่ให้ลูกดูดนมตัวเองจนกว่าจะตรวจไม่พบเชื้อแล้ว
ผู้ป่วยที่ต้องทำงานกับกลุ่มเสี่ยง เช่นผู้ป่วยเอดส์ เด็กเล็ก ควรแยกออกห่างจากคนเหล่านี้จนกว่าจะไม่พบเชื้อแล้ว
ควรสังเกตุอาการข้างเคียงจากยา เช่นผื่นคัน คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ดีซ่าน (ตาเหลือง) ตามัว หูอื้อ มีไข้ขึ้น ฯลฯ หากสงสัยควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด
2.ถ้ามีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคปอดควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจดูว่ามีการติดเชื้อวัณโรคหรือเป็นโรคนี้หรือยัง แพทย์จะได้หาทางรักษาหรือป้องกันโรคนี้
การรักษา
เมื่อวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคปอด แพทย์จะให้ยารักษาวัณโรค โดยทั่วไปจะให้สูตรยากิน 6 เดือน 2 เดือนแรกใช้ยา 4 ชนิด ได้แก่ ไอเอ็นเอช (INH) ไรแฟมพิซิน (rifampicin) ไพราซินาไมด์ (pyrazinamide) และอีแทมบูทอล (ethambutol) บางรายอาจใช้ สเตรปโตไมซิน ชนิดฉีดแทนอีแทมบูทอล แล้วต่อด้วยยา 2 ชนิด ได้แก่ ไอเอ็นเอช และไรแฟมพิซิน อีก 4 เดือน
แพทย์จะย้ำเตือนให้ผู้ป่วยกินยาให้ตรงเวลาทุกวันห้ามลืมหรือเว้นบางมื้อบางวัน กำชับให้ญาติช่วยดูแลให้ผู้ป่วยกินยาได้สม่ำเสมอ มิเช่นนั้นอาจทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยา ทำให้รักษาไม่ได้ผล หรือต้องเปลื่ยนไปใช้ยาสูตรที่แรงขึ้น
ส่วนผู้ป่วยที่เป็นเอดส์ร่วมกับวัณโรคปอด นอกจากให้ยาต้านไวรัสเอดส์แล้ว ยังต้องให้ยารักษาวัณโรค (ซึ่งเปลี่ยนแปลงสูตรยาที่แตกต่างกันออกไป) เป็นเวลานาน 9 เดือน
แพทย์จะนัดผู้ป่วยมาติดตามผลการรักษาอย่างใกล้ชิด โดยทั่วไปเมื่อใช้ยาได้ 2 สัปดาห์ อาการไข้และไอจะเริ่มทุเลา กินข้าวได้ และน้ำหนักขึ้น
แพทย์จะทำการตรวจเสมหะ (ดูว่าเชื้อหายหมดหรือยัง) เป็นระยะๆ เช่น เมื่อกินยาครบ 2 เดือน 5 เดือน และเมื่อสิ้นสุดการใช้ยารักษา นอกจากนี้อาจทำการเอกซเรย์ปอดดูว่ารอยโรคหายดีหรือยัง
ส่วนผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดตับอักเสบ เช่น ผู้ป่วยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ มีประวัติเป็นโรคตับอยู่ก่อน หรืออายุมากกว่า 35 ปี เมื่อกินยารักษาวัณโรค ซึ่งอาจทำให้ตับอักเสบได้ แพทย์จะทำการตรวจเลือดดูระดับเอนไซม์ตับ (AST, ALT) เพื่อดูว่ามีการอักเสบของตับเกิดขึ้นหรือไม่
ภาวะแทรกซ้อน
โรคที่เกิดในปอด อาจลุกลามจนกลายเป็นภาวะมีน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด ภาวะมีลมในโพรงเยื่อหุ้มปอดถุงลมปอดโป่งพอง ฝีปอด (lung abscess) ไอออกเป็นเลือดมากถึงช็อก
เชื้อวัณโรคอาจแพร่กระจายผ่านกระแสเลือดไปทั่วร่างกาย กลายเป็นวัณโรคขออวัยวะต่างๆ ซึ่งอาจพบร่วมกับวัณโรคปอดหรือไม่ก็ได้ เช่น
วัณโรคต่อมน้ำเหลือง พบบ่อยที่ข้างคอ มีลักษณะเป็นก้อนบวมที่ข้างคอ นุ่ม ไม่มีอาการปวดเจ็บปวดอาจแตกมีหนองไหลเรื้อรัง โบราณเรียกฝีประคำร้อยไม่มีอาการเจ็บปวด
เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากวัณโรค มีอาการไข้ปวดศรีษะรุนแรง อาเจียนรุนแรง ซึม ชัก คอแข็ง
วัณโรคกระดูก เช่น วัณโรคข้อเข่า (มีไข้เรื้อรังข้อบวมแดงร้อน) วัณโรคกระดูกสันหลัง (มีอาการปวดหลังเรื้อรัง หลังคดโก่ง กดเจ็บ อาจมีอาการขาอ่อนแรง)
วัณโรคกล่องเสียง มีอาการเสียงแหบเรื้อรัง
วัณโรคลำไส้ มีอาการปวดท้องและท้องเดินเรื้อรัง น้ำหนักลด อาจคลำได้ก้อนในท้อง ถ้าลุกลามไปที่เยื่อบุช่องท้องทำให้เกิดอาการท้องมาน
วัณโรคไต ทำให้เป็นกรวยไตอักเสบเรื้อรังตรวจพบเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะให้ยาปฏิชีวนะ (ที่ไม่ใช่ยารักษาวัณโรค) หลายชนิดแล้วก็ไม่หาย
วัณโรคเยื่อหุ้มหัวใจ มีอาการไข้ คอบวม หายใจหอบเหนื่อย
นอกจากนี้ ถ้าเกิดในทารกและเด็กเล็ก อาจกลายเป็นวัณโรคชนิดแพร่กระจาย (miliary tuberculosis) ซึ่งจะมีเชื้อปริมาณมากแพร่กระจายตามกระแสเลือดไปทั่วร่างกาย ผู้ป่วยจะมีไข้เป็นๆ หายๆ เรื้อรังน้ำหนักลด หายใจลำบาก อาจมีภาวะซีด หรือเลือดออก
การดำเนินโรค
หากไม่ได้รับการรักษา ก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวข้างต้น
ถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจจะทุเลาภายใน 1-2 สัปดาห์ ถึงแม้ว่าจะรู้สึกสบายดี ผู้ป่วยก็จำเป็นต้องกินยาให้ครบ 6-9 เดือน ตามสูตรยาที่แพทย์แนะนำ ก็จะช่วยให้หายขาดได้ แต่ถ้ากินไม่ครบหรือกินๆ หยุดๆ ก็มักทำให้เชื้อดื้อยา การรักษาก็จะมีความยุ่งยากมากขึ้น หากมีการดื้อยาหลายขนาน โรคก็อาจเป็นเรื้อรังและเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
การป้องกัน
1.ฉีดวัคซีนบีซีจี (BCG) ซึ่งนิยมฉีดให้ทารกตั้งแต่แรกเกิด วัคซีนชนิดนี้มีประสิทธิผลในการป้องกันวัณโรคชนิดแพร่กระจาย ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กเล็ก แต่อาจป้องกันวัณโรคปอดไม่ได้เต็มที่ ผู้ที่เคยฉีดวัคซีนบีซีจีมาแล้วก็ยังมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นวัณโรคปอด
2.คนทั่วไปควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยการพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายเป็นประจำ ละเว้นจากการสูบบุหรี่การดื่มแอลกอฮอล์จัด และการใช้ยาเสพติด หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์
3.เมื่อมีผู้ป่วยอยู่ในบ้านเดียวกัน ควรกำชับให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวตามคำแนะนำการแพทย์ (ดูหัวข้อ "การดูแลตนเอง") ช่วงที่ผู้ป่วยกินยารักษาวัณโรคไม่ถึง 2 สัปดาห์ หรือยังไม่หายไอ ควรหลีกเลี่ยงการนอนอยู่ห้องเดียวกับผู้ป่วยถ้าจำเป็นต้องดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดควรสวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องการติดเชื้อ
4.ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยและผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ แม้ว่ารู้สึกสบายดีก็ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการทดสอบทูเบอร์คูลิน (สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรทำการทดสอบ ทุก 6 เดือน) ถ้าพบว่าให้ผลบวกซึ่งแสดงว่าเป็นผู้ติดเชื้อวัณโรค แพทย์จะพิจารณาให้กินไอเอ็นเอชป้องกัน ขนาด 300 มก./วัน (เด็ก 10มก./กก./วัน) วันละครั้ง นาน 9-12 เดือน
ตัวอย่างผู้ที่ควรกินไอเอ็นเอชป้องกัน เช่น
ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคระยะติดต่อ ผู้ที่พบรอยโรคในปอดจากภาพถ่ายรังสี ซึ่งมีผลการทดสอบทูเบอร์คูลินขนาด มากกว่าหรือเท่ากับ 5 มม. ควรกินยาป้องกันนานอย่างน้อย 12 เดือน
เด็กอายุต่ำกว่า 4 ขวบ ผู้ที่ฉีดยาเสพติดหรือติดแอลกอฮอล์ ผู้ป่วยเบาหวาน ไตวายเรื้อรัง มะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ผู้ที่อยู่ในสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูง (เช่น นักโทษในเรือนจำ ผู้สูงอายุในสถานพักฟื้น บุคลากรที่ดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล เป็นต้น) ซึ่งมีการทดสอบ ทูเบอร์คูลินขนาด มากกว่าหรือเท่ากับ 10 มม.
บุคคลทั่วไปที่ไม่ได้เป็นกลุ่มเสี่ยง ซึ่งมีผลการทดสอบทูเบอร์คูลินขนาดมากกว่าหรือเท่ากับ 15 มม.
ความชุก
โรคนี้พบได้บ่อยในคนทุกกลุ่มวัย พบมากในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเอดส์ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ (ดูหัวข้อ "สาเหตุ") และมักพบในคนที่มีฐานะยากจนหรืออยู่กันอย่างแออัด
โดย นพ.สุรเกียรติ อาชานุภาพ
ที่มา : นิตยสารหมอชาวบ้าน ฉบับที่ 380 ธันวาคม 2553