หัวใจเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกายที่ทำงานโดยไม่มีวันหยุด หากหัวใจหยุดเต้น นั่นยอมหมายถึงการสิ้นสุดของชีวิตด้วยเช่นกัน ดังนั้นการดูแลหัวใจให้แข็งแรงจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
สำหรับรายการ “ล้ำยุคเรื่องสุขภาพ” ช่วงสุขภาพดีกับพรีม่าในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากรศ.นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ หน่วยโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องของการดูแลหัวใจให้ปลอดภัยจากโรค
หน้าที่ของหัวใจ
หัวใจมีหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยทำงานไม่มีวันหยุด หากหัวใจไม่ทำงานร่างกายก็อยู่ไม่ได้เช่นกัน
ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลให้เกิดปัญหากับหัวใจที่พบได้บ่อยในประเทศไทย ได้แก่ การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารประเภทแป้ง อาหารที่มีรสหวานจัด อาหารที่มีไขมันสูง และขาดการออกกำลังกาย ซึ่งจะส่งผลให้เกิดโรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง อันมีผลต่อการเกิดโรคหัวใจตามมา
นอกจากปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น พันธุกรรมก็เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจด้วยเช่นกัน โดยในผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจได้ และสำหรับโรคบางโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคลูปัส ก็จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีโอกาสเป็นโรคหัวใจได้มากขึ้นด้วย
โรคหัวใจที่พบได้บ่อยในประเทศไทย
ในประเทศไทย โรคหัวใจที่พบได้บ่อยคือโรคของหลอดเลือด ซึ่งหัวใจมีหน้าที่ในการปั้มเลือด แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องการเลือดไปเลี้ยงตัวเองผ่านทางหลอดเลือด 3 เส้น ซึ่งเมื่อมีการใช้งานไปนาน ๆ หลอดเลือดเหล่านี้ก็จะมีไขมันและหินปูนไปสะสม เกิดเป็นตะกรันและทำให้หลอดเลือดตีบได้ หากตระกรันนี้เกิดการปริแตกออก ก็จะทำให้ลิ่มเลือดอุดตัน และทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันได้ นอกจากนั้นยังอาจก่อให้เกิดความทุพลภาพได้ด้วย
โรคหัวใจ ไม่ใช่โรคของผู้สูงอายุเท่านั้น
โรคหัวใจเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันสามารถพบโรคนี้ได้ในผู้ที่อายุน้อยลงกว่าเดิมมาก โดยพบผู้ป่วยในช่วงอายุ 30 – 40 ปีมากขึ้น ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับคนในช่วงวัยดังกล่าวต้องออกไปทำงานและมีโอกาสสัมผัสกับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ มากขึ้น เช่นผู้ขับรถแท็กซี่ ซึ่งมีเวลารับประทานอาหารน้อย และมักเลือกรับประทานอาหารประเภทแป้งและมีไขมันสูง ไม่ค่อยได้ออกกกำลังกาย และบางรายยังสูบบุหรี่ด้วย ปัจจุบันจึงพบว่าผู้ขับแท็กซี่เป็นโรคหัวใจกันมากขึ้น
โรคหัวใจ...เป็นแล้วหายได้หรือไม่?
ผู้ป่วยโรคหัวใจบางราย เมื่อได้รับการรักษาแล้วจะสามารถหายขาดจากโรคได้ แต่บางรายจะไม่หาย โดยคนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคหัวใจมักต้องรับประทานยาตลอดไป เพื่อลดโอกาสในการกลับเป็นซ้ำ
ปัจจุบันยาสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจได้เปลี่ยนบทบาทจากการรักษาโรคมาเป็นป้องกันโรค ซึ่งก็ได้ผลมากในการลดอุบัติการณ์การกลับมาเป็นซ้ำและอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ เพราะฉะนั้นการรับประทานยาจึงมีความจำเป็นสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ
นวัตกรรมใหม่ ๆ ในการดูแลหัวใจ
สำหรับนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการดูแลหัวใจ จะเป็นเรื่องของการช่วยตรวจหาโรคหัวใจให้ได้เร็วขึ้น ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาก็จะมีการอัลตราซาวด์เพื่อดูคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ การทำ CT Scan เพื่อดูปริมาณหินปูนในหลอดเลือดของหัวใจ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีมานานแล้ว แต่ปัจจุบันยังใช้กันไม่แพร่หลายนัก
การดูแลหัวใจ
สำหรับการวิธีการดูแลหัวใจที่ดีทั้งในส่วนของผู้ที่ป่วยเป็นโรคัวใจแล้ว ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงสูง และผู้ที่ยังไม่ได้ป่วยเป็นโรคหัวใจคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ซึ่งได้แก่ หยุดสูบบุหรี่รวมทั้งหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับผู้ที่สูบบุหรี่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารอย่างพอเหมาะ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทแป้ง อาหารที่ที่มีรสหวานจัด อาหารที่มีไขมันสูง และสำหรับผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคหัวใจ รวมทั้งผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจสูงก็ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อตรวจคัดกรองหาโรคหัวใจด้วย
ในด้านของการออกกำลังกาย สำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเช่นกันว่าสามารถทำได้หรือไม่ และควรออกกำลังกายมากน้อยเพียงใด โดยทั่วไป แพทย์จะแนะนำให้ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและคนปรกติออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 – 4 ครั้ง ครั้งละ 30 – 40 นาที ซึ่งการเดินก็เป็นออกกำลังกายอย่างหนึ่งที่ทำได้ง่าย โดยการเดินเพื่อออกกำลังกายที่เหมาะสมคือเดินครั้งละ 20 นาที สัปดาห์ละ 4 ครั้ง ซึ่งพบว่าการออกกำลังกายโดยการเดินที่เหมาะสมจะสามารถสามารถลดโอกาสในการเกิดโรคหัวใจในผู้ที่ยังไม่ได้เป็นโรคหัวใจหรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจได้ ส่วนผู้ที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้วก็มีโอกาสในเกิดการเจ็บป่วยซ้ำใหม่น้อยลง
โดย รศ.นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์
หน่วยโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
จากรายการ : “ล้ำยุคเรื่องสุขภาพ”
ออกอากาศทาง : สถานีวิทยุ จส. 100 (FM 100 MHz.)
วัน และ เวลาออกอากาศ : วันเสาร์ที่ 15 กันยายน 2555 เวลา 14:15 น. – 14:30 น.
![]() |
โดย รศ.นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ หน่วยโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ |
หน้าที่ของหัวใจ
หัวใจมีหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยทำงานไม่มีวันหยุด หากหัวใจไม่ทำงานร่างกายก็อยู่ไม่ได้เช่นกัน
ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลให้เกิดปัญหากับหัวใจที่พบได้บ่อยในประเทศไทย ได้แก่ การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารประเภทแป้ง อาหารที่มีรสหวานจัด อาหารที่มีไขมันสูง และขาดการออกกำลังกาย ซึ่งจะส่งผลให้เกิดโรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง อันมีผลต่อการเกิดโรคหัวใจตามมา
นอกจากปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น พันธุกรรมก็เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจด้วยเช่นกัน โดยในผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจได้ และสำหรับโรคบางโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคลูปัส ก็จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีโอกาสเป็นโรคหัวใจได้มากขึ้นด้วย
โรคหัวใจที่พบได้บ่อยในประเทศไทย
ในประเทศไทย โรคหัวใจที่พบได้บ่อยคือโรคของหลอดเลือด ซึ่งหัวใจมีหน้าที่ในการปั้มเลือด แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องการเลือดไปเลี้ยงตัวเองผ่านทางหลอดเลือด 3 เส้น ซึ่งเมื่อมีการใช้งานไปนาน ๆ หลอดเลือดเหล่านี้ก็จะมีไขมันและหินปูนไปสะสม เกิดเป็นตะกรันและทำให้หลอดเลือดตีบได้ หากตระกรันนี้เกิดการปริแตกออก ก็จะทำให้ลิ่มเลือดอุดตัน และทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันได้ นอกจากนั้นยังอาจก่อให้เกิดความทุพลภาพได้ด้วย
โรคหัวใจ ไม่ใช่โรคของผู้สูงอายุเท่านั้น
โรคหัวใจเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันสามารถพบโรคนี้ได้ในผู้ที่อายุน้อยลงกว่าเดิมมาก โดยพบผู้ป่วยในช่วงอายุ 30 – 40 ปีมากขึ้น ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับคนในช่วงวัยดังกล่าวต้องออกไปทำงานและมีโอกาสสัมผัสกับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ มากขึ้น เช่นผู้ขับรถแท็กซี่ ซึ่งมีเวลารับประทานอาหารน้อย และมักเลือกรับประทานอาหารประเภทแป้งและมีไขมันสูง ไม่ค่อยได้ออกกกำลังกาย และบางรายยังสูบบุหรี่ด้วย ปัจจุบันจึงพบว่าผู้ขับแท็กซี่เป็นโรคหัวใจกันมากขึ้น
โรคหัวใจ...เป็นแล้วหายได้หรือไม่?
ผู้ป่วยโรคหัวใจบางราย เมื่อได้รับการรักษาแล้วจะสามารถหายขาดจากโรคได้ แต่บางรายจะไม่หาย โดยคนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคหัวใจมักต้องรับประทานยาตลอดไป เพื่อลดโอกาสในการกลับเป็นซ้ำ
ปัจจุบันยาสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจได้เปลี่ยนบทบาทจากการรักษาโรคมาเป็นป้องกันโรค ซึ่งก็ได้ผลมากในการลดอุบัติการณ์การกลับมาเป็นซ้ำและอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ เพราะฉะนั้นการรับประทานยาจึงมีความจำเป็นสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ
นวัตกรรมใหม่ ๆ ในการดูแลหัวใจ
สำหรับนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการดูแลหัวใจ จะเป็นเรื่องของการช่วยตรวจหาโรคหัวใจให้ได้เร็วขึ้น ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาก็จะมีการอัลตราซาวด์เพื่อดูคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ การทำ CT Scan เพื่อดูปริมาณหินปูนในหลอดเลือดของหัวใจ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีมานานแล้ว แต่ปัจจุบันยังใช้กันไม่แพร่หลายนัก
การดูแลหัวใจ
สำหรับการวิธีการดูแลหัวใจที่ดีทั้งในส่วนของผู้ที่ป่วยเป็นโรคัวใจแล้ว ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงสูง และผู้ที่ยังไม่ได้ป่วยเป็นโรคหัวใจคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ซึ่งได้แก่ หยุดสูบบุหรี่รวมทั้งหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับผู้ที่สูบบุหรี่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารอย่างพอเหมาะ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทแป้ง อาหารที่ที่มีรสหวานจัด อาหารที่มีไขมันสูง และสำหรับผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคหัวใจ รวมทั้งผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจสูงก็ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อตรวจคัดกรองหาโรคหัวใจด้วย
ในด้านของการออกกำลังกาย สำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเช่นกันว่าสามารถทำได้หรือไม่ และควรออกกำลังกายมากน้อยเพียงใด โดยทั่วไป แพทย์จะแนะนำให้ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและคนปรกติออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 – 4 ครั้ง ครั้งละ 30 – 40 นาที ซึ่งการเดินก็เป็นออกกำลังกายอย่างหนึ่งที่ทำได้ง่าย โดยการเดินเพื่อออกกำลังกายที่เหมาะสมคือเดินครั้งละ 20 นาที สัปดาห์ละ 4 ครั้ง ซึ่งพบว่าการออกกำลังกายโดยการเดินที่เหมาะสมจะสามารถสามารถลดโอกาสในการเกิดโรคหัวใจในผู้ที่ยังไม่ได้เป็นโรคหัวใจหรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจได้ ส่วนผู้ที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้วก็มีโอกาสในเกิดการเจ็บป่วยซ้ำใหม่น้อยลง
โดย รศ.นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์
หน่วยโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
จากรายการ : “ล้ำยุคเรื่องสุขภาพ”
ออกอากาศทาง : สถานีวิทยุ จส. 100 (FM 100 MHz.)
วัน และ เวลาออกอากาศ : วันเสาร์ที่ 15 กันยายน 2555 เวลา 14:15 น. – 14:30 น.