รู้จักโรคกรดไหลย้อน และการป้องกัน


โรคกรดไหลย้อน มาจากภาษาอังกฤษ Gastro-Esophageal Reflux Disease เรียกสั้น ๆ ว่า GERD  มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม และสิ่งที่ตัวเองทำ เช่นทานอาหารมากเกินไป
 สาเหตุจากพันธุกรรม ก็อาจเกิดจากหูรูดที่หลอดอาหารทำหน้าที่ไม่ดี  ถ้าเราทนอาหารเยอะเกินไป กระเพาะอาการจะไม่สามารถบีบตัวได้ เมื่อกระเพาะบีบตัวไม่ได้ก็จะไล่อาหารไปที่ลำไส้ไม่ได้ ก็จะทำให้เกิดแก๊ส  พอเป็นแก๊ส ก็จะเกิดอาการเรอ พอเรอกรดก็จะขึ้นมา

โรคกรดไหลย้อนกลับ  สิ่งที่ไหลย้อน คือ กรดที่อยู่ในกระเพาะ หรือบางครั้งถ้ามีอาการมาก ก็จะเกิดน้ำย่อยที่ลำไส้ขึ้นมาด้วย  เพราะฉะนั้น คนที่เป็นโรคกรดไหลย้อน จะรู้สึกเหม็นเปรี้ยวในเวลาเรอออกมา  บางครั้งจะรู้สึกขมปากร่วมด้วย   โดยปกติที่ลำไส้ของเราในส่วนต้น จะมีการป้องกันไม่ให้เยื่อเมือกบริเวณนั้นถูกกรดกัด ก็จะหลั่งเมือกออกมาป้องกัน  แต่ที่หลอดอาหารมันไม่มีเยื่อเมือก หรือถ้ามีก็จะน้อยมาก ๆ เพราะฉะนั้น ถ้าเกิดอาการกรดไหลย้อนบ่อย ๆ โดนกรดกัดบ่อย ๆ จะทำให้เกิดแผล และมีเชื้อโรคเข้าไปได้  ทำให้เกิดการอักเสบ เป็นแผลในบริเวณนั้น

     ส่วนอาการของคนเป็นโรค "กรดไหลย้อน" นั้น โดยส่วนใหญ่จะเจ็บบริเวณลิ้นปี่ เหมือนกับเป็นโรคหัวใจ บางคนอาจเข้าใจผิดคิดว่าตัวเองเป็นโรคหัวใจ  แต่จริง ๆ ไม่ใช่  อาการจะเจ็บบริเวณลิ้นปี่ ปวดท้อง และอาจมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย  ถ้าเป็นระยะเวลานาน ๆ เข้า จะเกิดอาการอักเสบที่คอด้วย  บางคนไม่รู้ คิดว่าตัวเองเป็นหวัด เพราะมีอาการเจ็บคอ  หรือบางครั้งอาการเข้าไปเกิดขึ้นที่หู ตา หรือจมูก ก็เป็นไปได้ เพราะ รูจมูก  รูหู และตา มันทะลุกันได้หมด  หากเกิดจะเกิดอาการ เช่น หูอักเสบ ตาอักเสบ เป็นต้น

ภูมิคุ้มกันที่สมดุล กับการดูแล "กระเพาะ และกรดไหลย้อน"
โรคกระเพาะอาหาร หมายถึง ภาวะมีแผลที่เยื่อบุกระเพาะ แลเะลำไส้เล็กส่วนต้น  สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก มีกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป เยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอ และมีเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori  ซึ่งหลั่งสารพิษออกมาทำให้เกิดแผลเรื้อรังขึ้น

โรคกรดไหลย้อน  เป็นผลมาจากกรด และน้ำย่อย จากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร  ทำให้เยื่อบุหลอดอาหารอักเสบตามมา จะมีอาการท้องดอืด จุกเสียด คล้ายโรคกระเพาะ  แต่ยังมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เจ็บคอ  กลืนอาหาร หรือกลืนน้ำลาย ลำบาก  รู้สึกเหมือนมีก้อนจุกที่คอ  แสบลิ้นเรื้อรัง แสบร้อนบริเวณหน้าอก เรอเปรี้ยว หรือมีรสขมในปาก เสียงแหบ ไอเรื้อรัง หรือบางรายอาจมีอาการหอบหืดร่วมด้วย


สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน และการรักษา

สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน
          โรคกรดไหลย้อนเกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่ หลอดอาหารส่วนปลายมีการคลายตัวอย่างผิดปกติ ความดันของหูรูดของหลอดอาหารส่วนปลายลดลงต่ำกว่าปกติ หรือกระเพาะอาหารหรือหลอดอาหารบีบตัวอย่างผิดปกติ รวมถึงพันธุกรรมด้วย ในคนบางคน หูรูดหลอดอาหารทำงานได้
น้อย
          พฤติกรรมบางอย่างของผู้ป่วยเป็นปัจจัยเสริมให้เกิดโรคกรดไหลย้อนได้ด้วย เช่น รับประทานอาหารเสร็จอิ่ม ๆ หรือรับประทานอาหารเสร็จยังไม่ถึง 4 ชั่วโมงแล้วนอน สูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม รับประทานอาหารประเภทของทอด ของมัน หรืออาหารที่มีรสเปรี้ยวจัดเผ็ดจัด

ภาวะของโรคกรดไหลย้อน แบ่งออกเป็น 3 ระดับ
          ระดับแรก ผู้ป่วยมีภาวะกรดไหลย้อนบ้างในบางครั้ง เป็นบ้าง ไม่เป็นบ้าง แล้วก็หายไป ไม่มีผลต่อสุขภาพมากมาย
          ระดับสอง ผู้ป่วยจะมีอาการกรดไหลย้อนขึ้นมาเฉพาะที่บริเวณหลอดอาหาร
          ระดับสาม ผู้ป่วยมีกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมาก จนไหลขึ้นไปถึงกล่องเสียงหรือหลอดลม

อาการของโรค
          ผู้ป่วยจะมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ การไหลย้อนของกรด ถ้ามีมาก อาจไหลออกนอกหลอดอาหาร อาจทำให้มีผลต่อลำคอ กล่องเสียง และปอดได้ ผู้ป่วยจะมีอาการไอเรื้อรัง เจ็บคอเรื้อรัง หรือรู้สึกสำลักในเวลากลางคืน เสียงแหบเรื้อรัง หรือแหบเฉพาะตอนเช้า หรือมีเสียงผิดปกติไปจากเดิม เนื่องจากเวลานอน กรดจะไหลย้อนขึ้นมาได้มาก ปวดแสบ ปวดร้อนบริเวณหน้าอกและลิ้นปี่ หรือที่เรียกว่า Heart Burnเนื่องจากกรด ไปทำให้หลอดอาหารอักเสบ มีอาการจุกแน่นบริเวณหน้าอก เหมือนมีก้อนติดอยู่ในลำคอ หายใจไม่ออกเวลานอน กลืนอาหารลำบาก หรือกลืนเจ็บ เจ็บคอ หรือแสบลิ้นเรื้อรัง ถ้าเป็นมาก จะเจ็บคอมาก จนอาจจะกลืนอาหารแทบไม่ได้ คลื่นไส้ มีอาการเรอเปรี้ยว หรือรู้สึกถึงรสขมของน้ำดี รสเปรี้ยวของกรดในปากหรือลำคอ มีเสมหะอยู่ในลำคอ หรือระคายคอตลอดเวลา

          คนส่วนใหญ่มักคิดว่าเป็นโรคกระเพาะอาหาร จึงไปซื้อยาเคลือบแผลในกระเพาะอาหารมารับประทานเอง ทำให้การรักษาไม่ตรงจุด สร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพการทำงานลดลง หากละเลยไม่ไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษา อาจทำให้เรื้อรังกลายเป็นโรคปอดอักเสบและมะเร็งหลอดอาหารได้

การรักษา
          โรคกรดไหลย้อนสามารถรักษาได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วย การใช้ยา หรือการผ่าตัด

การรักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
          งดการสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ น้ำอัดลม ชา กาแฟ ลดอาหารมัน ของทอด ของหวาน รับประทานอาหารให้เป็นเวลา
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารก่อนนอนอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง ลดน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอดี
          การรักษาโรคกรดไหลย้อนโดยการปรับเปลี่ยนนิสัยและการดำเนินชีวิตประจำวันมีความสำคัญมาก จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการน้อยลง ป้องกัน
ไม่ให้เกิดอาการอีก และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย เป็นการลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหาร และป้องกันไม่ให้กรดไหลย้อนกลับขึ้นไปในระบบ
ทางเดินอาหารและทางเดินหายใจส่วนบน การรักษาด้วยวิธีนี้ควรทำอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต แม้จะมีอาการดีขึ้นหรือหายดีแล้ว โดยไม่ต้องรับ
ประทานยาแล้วก็ตาม

ข้อแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

นิสัยส่วนตัว
           ควรพยายามลดน้ำหนักถ้าน้ำหนักเกิน เนื่องจากภาวะน้ำหนักเกินจะทำให้ความดันในช่องท้องมากขึ้น ทำให้กรดไหลย้อนได้มากขึ้นพยายามหลีกเลี่ยงอย่าให้เครียด และถ้าสูบบุหรี่อยู่ ควรเลิก เพราะความเครียดและการสูบบุหรี่ทำให้เกิดการหลั่งกรดมากขึ้น ถ้าไม่เคยสูบบุหรี่ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือควันบุหรี่ หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่คับเกินไป โดยเฉพาะบริเวณรอบเอว

นิสัยในการรับประทาน
          หลังจากรับประทานอาหารทันที พยายามหลีกเลี่ยงการนอนราบ การออกกำลัง การยกของหนัก การเอี้ยวหรือก้มตัว หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อดึก และไม่ควรรับประทานอาหารใดๆ อย่างน้อยภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมงก่อนนอน รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ และหลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยการทอด อาหารมัน พืชผักบางชนิด เช่น หัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ อาหารจานด่วน (fast food) ช็อกโกแลต ถั่ว ลูกอม สะระแหน่ เนย ไข่ นม หรืออาหารที่มีรสจัด เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด หวานจัด เป็นต้น รับประทานอาหารปริมาณพอดีในแต่ละมื้อ ควรรับประทานอาหารปริมาณทีละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มบางประเภท เช่น กาแฟ (แม้จะเป็นกาแฟที่ไม่มีกาเฟอีนก็ตาม) ชา น้ำอัดลม
เครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์ วิสกี้ ไวน์ โดยเฉพาะในตอนเย็น

นิสัยในการนอน
          ถ้าจะนอนหลังรับประทานอาหาร ควรรอประมาณ 3-4 ชั่วโมง เวลานอน ควรหนุนหัวเตียงให้สูงขึ้นประมาณ 6-10 นิ้วจากพื้นราบ อาจเริ่มประมาณ 1/2-1 นิ้วก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้น โดยใช้วัสดุรองขาเตียง เช่น ไม้ อิฐ อย่ายกศีรษะให้สูงขึ้นโดยการใช้หมอนรองศีรษะ เพราะจะทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น จะทำให้กรดไหลย้อนได้มากขึ้น


การปรับการดำเนินชีวิตเพื่อบรรเทาอาการ

- ยกศีรษะและลำตัวให้สูง กรดไหลย้อนมักเกิดขณะคุณนอนราบ ดังนั้นการนอนโดยเสริมด้านหัวเตียงให้ยกสูงขึ้น จะช่วยป้องกันการไหลย้อนกลับของกรดในกระเพาะอาหารได้ ไม่ควรใช้วิธีการหนุนหมอนหลาย ๆ ใบ

 ลดแรงกดต่อกระเพาะอาหาร จากเสื้อผ้า และเข็มขัดที่รัดแน่นบริเวณผนังหน้าท้อง  การก้มตัวไปด้านหน้า  น้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐาน  ล้วนเป็นสาเหตุที่เพิ่มแรงกดต่อกระเพาะอาหาร และทำให้กรดไหลย้อนกลับ คุณจึงควรหลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าหรือเข็มขัดที่รัดแน่น การก้มตัว และถ้าคุณมีปัญหาน้ำหนักเกินควรลดให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

 ผ่อนคลายความเครียด ซึ่งความเครียดจะเป็นสาเหตุให้เกิดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้น ดังนั้นจึงควรหาเวลาพักผ่อน และออกกำลังกายให้สมดุลกับตารางชีวิตของคุณ

 การตั้งครรภ์ ผู้หญิงตั้งครรภ์มักเป็นโรคกรดไหลย้อน เนื่องจากฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ทำให้หูรูดหลอดอาหารอ่อนแอลงรวมทั้งมดลูกที่ขยายตัวเพิ่มแรงกดต่อกระเพาะอาหาร ซึ่งหากคุณมีอาการขณะตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์




การรักษาโดยใช้ยา

          มีรายงานว่าประมาณร้อยละ 90 ของผู้ป่วยที่มีอาการของโรคกรดไหลย้อนสามารถควบคุมอาการได้ด้วยยา เพื่อลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหาร และ/หรือ เพิ่มการเคลื่อนตัวของระบบทางเดินอาหารในการกำจัดกรด ปัจจุบันยาลดกรดกลุ่ม proton pump inhibitor เป็นยาที่สามารถยับยั้งการหลั่งกรดได้ดี สามารถเห็นผลการรักษาเร็ว ควรรับประทานยาสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง ไม่ควรลดขนาดยาหรือหยุดยาเอง และควรมาพบแพทย์ตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ผู้ป่วยบางรายอาจใช้เวลานานประมาณ 1-3 เดือน กว่าที่อาการต่างๆ จะดีขึ้น

          เมื่ออาการต่างๆ ดีขึ้น และผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนนิสัยและการดำเนินชีวิตประจำวันดังกล่าวข้างต้นได้ และได้รับประทานยาต่อเนื่อง แพทย์จะปรับลดขนาดยาลงเรื่อยๆ ทีละน้อย ที่สำคัญไม่ควรซื้อยารับประทานเองเวลาป่วย เนื่องจากยาบางชนิดจะทำให้กระเพาะอาหารมีการหลั่งกรดเพิ่มขึ้น หรือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างคลายตัวมากขึ้น

การผ่าตัด
          แพทย์จะพิจารณาทำการรักษาด้วยการผ่าตัด ผูกหูรูดกระเพาะอาหาร เพื่อป้องกันไม่ให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปในระบบทางเดินอาหารส่วนบนและระบบทางเดินหายใจ

          การผ่าตัดนี้จะทำในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ให้การรักษาโดยการใช้ยาอย่างเต็มที่แล้วไม่ดีขึ้น หรือไม่สามารถรับประทานยาที่ใช้ในการรักษาโรคนี้ได้ หรือผู้ป่วยที่ดีขึ้นหลังจากการใช้ยา แต่ไม่ต้องการที่จะกินยาต่อ มีรายงานว่าผู้ป่วยที่ต้องทำการผ่าตัดมีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น


เรื่ืองที่เกี่ยวข้อง
โรคกระเพาะอาหารอักเสบ

แสดงความคิดเห็น

ใหม่กว่า เก่ากว่า