โรคกระเพาะอาหารอักเสบ



โรคกระเพาะ ถ้าจะใช้คำทางการแพทย์ที่ละเอียดขึ้นไป อาจจะต้องแบ่งออกเป็นกระเพาะอาหารอักเสบ กับเรื่องของแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งมีลักษณะอาการใกล้เคียงกัน โดยกระเพาะอาหารอักเสบอาจจะมีการอักเสบของผิวกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจจะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย จนในที่สุดทำให้เกิดเป็นแผลในกระเพาะอาหาร
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะคือการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป การใช้ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDS

การอักเสบของกระเพาะอาหาร ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น การอักเสบแบบเฉียบพลัน กับการอักเสบแบบเรื้อรัง ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดแผลในกระเพาะอาหารและเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ แต่คนส่วนใหญ่จะมีอาการเพียงเล็กน้อยและรักษาหายในเวลาไม่นาน

อาการของกระเพาะอาหารอักเสบ
มีอาการจุก แสบเสียด ร้อน หรือแน่น ๆ อาหารไม่ย่อย ที่บริเวณท้องส่วนบน หรือลิ้นปี่
คลื่นไส้ อาเจียน
ไม่อยากอาหาร
มีลมเยอะ ท้องอืด
รู้สึกจุกแน่นท้องมากเวลาทานอาหาร
บางคนอาจมีอาการน้ำหนักลดลง
กระเพาะอาหารอักเสบเฉียบพลัน ส่วนใหญ่จะร่วมกับมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดแสบร้อนในท้องส่วนบน
กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง จะรู้สึกแน่น ๆ จุก ๆ หรือไม่ค่อยอยากอาหาร ทานได้ไม่มากก็จะรู้สึกแน่น แต่ในบางรายอาจไม่มีอาการเลยก็ได้
ในบางครั้งจะมีอาการเลือดออกในกระเพาะอาหาร แต่พบได้น้อย ถ้ามีอาการเลือดออกในทางเดินอาหารจะมีอุจจาระที่เป็นสีดำเหมือนถ่าน และไม่แข็งเป็นก้อน (ต่างจากคนที่รับประทานธาตุเหล็กเสริมซึ่งอุจจาระจะดำเช่นกัน แต่แข็งเป็นก้อนตามปกติ) ซึ่งหากมีอาการนี้ เป็นลักษณะที่แสดงว่าต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจโดยทันที
หากมีอาการดังกล่าวเกินกว่าหนึ่งสัปดาห์ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจและรับการรักษา แต่ถ้ามีอาการเลือดออกทางเดินอาหาร ถ่ายดำ ถ่ายเป็นเลือด อาเจียนปนเลือด ควรพบแพทย์ทันที

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะได้แก่
การติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori ในคนที่เป็นกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง
การใช้ยาแก้ปวดในกลุ่ม Nonsteroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs)เช่น aspirin, ibuprofen (Advil, Nurofen), Ponstan, voltaren หรือ naproxen จะทำให้เกิดกระเพาะอาหารอักเสบได้หากมีการใช้ยากลุ่มนี้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน หรือใช้ในปริมาณมาก เนื่องจากยากลุ่มนี้จะไปทำลายชั้นผิวของกระเพาะอาหารเช่นกัน
การใช้แอลกอฮอล์ปริมาณมาก จะทำให้กิดการกัดทำลายกระเพาะ และทำให้มีกรดในกระเพาะมากกว่าปกติ
ความเครียด
น้ำดีไหลย้อน Bile reflux disease. น้ำดีถูกสร้างจากตับ และเก็บไว้ในถุงน้ำดี เมื่อน้ำดีออกมายังลำไส้ส่วนต้น จะไม่ย้อนกลับเข้ามานกระเพาะ แต่ถ้ากล้ามเนื้อที่ปลายกระเพาะผิดปกติ จะทำให้มีการย้อนของน้ำดีเข้ามาในกระเพาะทำให้เกิดการอักเสบได้
ภาวะแทรกซ้อน
ถ้าหากเป็นโรคกระเพาะอาหารเรื้อรังและไม่ทำการรักษา อาจจะเสี่ยงทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ทำให้มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร และแผลในกระเพาะอาหารบางชนิดจะมีโอกาสที่จะกลายเป็นมะเร็งในกระเพาะอาหารได้  ดังนั้นหากทำการรักษากระเพาะอาหารอักเสบแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจเพิ่มเติมเช่นการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร หรือการตรวจดูการติดเชื้อ H pylori
การตรวจวินิจฉัย


ถึงแม้ว่าจะสามารถให้การวินิจฉัยได้จากประวัติ อาการ และการตรวจร่างกาย แต่ในบางครั้งแพทย์จำเป็นต้องทำการตรวจเพิ่มเติม เพื่อการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาต่อไป
การตรวจเลือด ในการตรวจเลือดจะสามารถตรวจหาการติดเชื้อแบคทีเรีย H. pylori ได้ โดยการตรวจหา antibodies ของเชื้อนี้ ถ้าตรวจพบภูมิแปลว่าเคยได้รับเชื้อตัวนี้มาก่อน การตรวจเลือดยังตรวจดูว่ามีภาวะโลหิตจางหรือไม่ ซึ่งอาจจะเป็นผลจากการมีเลือดออกจากกระเพาะ
การตรวจ Breath test เป็นการตรวจง่าย ๆ โดยตรวจดื่มนน้ำยาที่มีลักษณะเป็น radioactive carbon molecules. ถ้ามีการติดเชื้อสารนี้จะแตกตัวออกและถูกดูดซึมเข้าร่างกาย และจะถูกขับออกมาทางลมหายใจ ซึ่งจะมีเครื่องมือที่ตรวจจับขณะที่คุณหายใจออกมาในถุงที่จัดไว้ให้
การตรวจอุจจาระ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการตรวจหาเชื้อตัวนี้เช่นกัน นอกจากนี้ยังสามารถตรวจดูว่ามีเลือดปนในอุจจาระหรือไม่ ซึ่งจะบอกเรื่องการมีเลือดออกในทางเดินอาหารได้
การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น การตรวจนี้จะทำให้เห็นความผิดปกติที่อยู่ในทางเดินอาหารได้ โดยแพทย์จะส่องกล้องเข้าไปทางปากเพื่อตตรวจดูหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้ส่วนต้น ถ้าหากพบว่ามีผิวของทางเดินอาหารที่ผิดปกติแพทย์อาจจะทำการตัดตัวอย่างชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยาต่อไป โดยทั่วไปใช้เวลาเพียง 20-30 นาที แต่อาจจะให้นอนสังเกตอาการสองหรือสามชั่วโมงจากการให้ยา
ยาที่ใช้ในการรักษากรดในกระเพาะอาหาร
Antacids. เป็นยาที่มีขายตามร้านขายยา อาจจะเป็นยาน้ำ เช่น alum milk หรือยาเม็ด antacid กลุ่มนี้ ทำหน้าที่เพียงทำให้ลดความเป็นกรดในกระเพาะ หรือช่วยเคลือบกระเพาะ และช่วยลดอาการปวดได้
Antacids. เป็นยาที่มีขายตามร้านขายยา อาจจะเป็นยาน้ำ เช่น alum milk หรือยาเม็ด antacid กลุ่มนี้ ทำหน้าที่เพียงทำให้ลดความเป็นกรดในกระเพาะ หรือช่วยเคลือบกระเพาะ และช่วยลดอาการปวดได้
ยากลุ่มยับยั้งการปั๊มกรด shut down acid 'pumps.' ยากลุ่มนี้ทางการแพทย์เรียกว่า proton pump inhibitors โดยการป้องกันไม่ให้เซลล์กระเพาะส่งกรดเข้ามาในกระเพาะอาหาร ยากลุ่มนี้จะได้ผลดีขึ้นแต่ราคาก็แพงขึ้นด้วยเช่น omeprazole (losec), lansoprazole (Prevacid), and esomeprazole (Nexium)
ปัญหาทางเดินอาหารอาจจะเกิดจากหลาย ๆ เหตุผล รวมถึงเรื่องพฤติกรรมของตัวคุณเองด้วย โดยทั่วไปการปฏิบัติตัวของคนที่มีปัญหาทางเดินอาหารควรปฏิบัติตัวดังนี้
ฝึกให้ระเบียบวินัยในการรับประทาน ทานให้ตรงเวลา ทานในปริมาณที่พอเหมาะ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานของเผ็ด ของหมักดอง พริกน้ำส้ม น้ำอัดลม ผลไม้หรือน้ำผลไม้รสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะนาว
งดการดื่มแอลกอฮอล์
งดบุหรี่
หลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้ปวด ยกเว้น paracetamol ซึ่งไม่กัดกระเพาะ
ควบคุมน้ำหนัก ไม่ให้น้ำหนักเกินมาตรฐาน เพราะถ้าหากว่าปล่อยให้อ้วน จะมีปัญหาเรื่องกรดไหลย้อน ท้องอืด ท้องผูกได้ง่าย
ออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยทำให้เรื่องการไหลเวียนเลือด และช่วยให้กล้ามเนื้อลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น ลดอาการท้องผูกได้
จัดการกับความเครียด ถ้าหากว่ามีความเครียด จะทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดหัวใจวาย เส้นเลือดสมอง และทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำลง และยังเพิ่มการสร้างกรดของกระเพาะอาหาร และทำให้การย่อยอาหารแย่ลงด้วย
อาการของโรคกระเพาะ ,วิธีการรักษา ,อาหารสำหรับโรคกระเพาะ,โรคกระเพาะอาหาร

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
รู้จักโรคกรดไหลย้อน และการป้องกัน


แสดงความคิดเห็น

ใหม่กว่า เก่ากว่า