วิตามินซี มีมากในผักตระกูลกะหล่ำ การเก็บเกี่ยวผักผลไม้ตั้งแต่ยังไม่แก่จัด ไม่สุกดี หรือนำไปผ่านการแปรรูป ไม่ว่าจะเป็นการตากแห้ง หมักดอง จะทำลายวิตามินซีที่อยู่ในอาหารไปในปริมาณมาก แต่เนื่องจากความร้อนสามารถทำลายวิตามินซีได้ง่าย จึงไม่ควรต้มหรือผัดนานเกินไป แต่การแช่เย็นไม่ได้ทำให้ผักผลไม้สูญเสียวิตามินซี โดยร่างกายของผู้ใหญ่ต้องการวิตามินซี 250-500 มิลลิกรัม
แหล่งวิตามินในธรรมชาติ/ ปริมาณสาร : 100 g.
ฝรั่ง 230 มิลลิกรัม
สับปะรด 20-30 มิลลิกรัม
กะหล่ำดอก 49 มิลลิกรัม
บรอกโคลี 84 มิลลิกรัม
น้ำมะนาว 1 แก้ว 34 มิลลิกรัม
มันฝรั่ง 21.3 มิลลิกรัม
กะหล่ำปลี 49 มิลลิกรัม
กล้วยชนิดต่างๆ 1 ลูก 8.5 มิลลิกรัม
พริกหวาน 1 เม็ด 100-120 มิลลิกรัม
ผักโขม 76.5 มิลลิกรัม
สตรอว์เบอร์รี่ 77 มิลลิกรัม
มะเขือเทศ 21.3 มิลลิกรัม
มะละกอ 60 มิลลิกรัม
โทษและอันตรายจากการขาดวิตามินซี
ผู้ที่ขาดวิตามินซี มักมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดตามข้อต่อของร่างกาย เลือดออกตามไรฟัน เจ็บกระดูก แผลหายช้า
เนื่องจากวิตามินซีทำหน้าที่ต่อต้านการอักเสบและช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ของร่างกาย การได้รับวิตามินซีไม่เพียงพอจะทำให้เส้นเลือดในร่างกายอ่อนแอ และทำให้บาดแผลที่เกิดขึ้นตามส่วนต่างๆ ของร่างกายหายช้ากว่าปกติ เป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย
วิตามินซีมีคุณสมบัติ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ หรือตัวต่อต้านสารก่อมะเร็งและช่วยควบคุมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และวิตามินซี ยังช่วยให้ร่างกายสามารถรีไซเคิลสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่นๆ ดังนั้นเพื่อประโยชน์สูงสุดจึงควรที่จะรับประทาน วิตามินซี ร่วมกับสารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่นๆ เช่น วิตามินอี แคโรทีน ฟลาโวนอย เป็นต้น ถ้าร่างกายขาดวิตามินซี จะส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายลดต่ำลง และทำให้ ติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้ง่าย เป็นโรคลักปิดลักเปิด
ในกรณีของเด็กหรือผู้สูงอายุที่ได้รับวิตามินซีน้อยกว่าวันละ 10 มิลลิกรัม อาจทำให้เป็นโรคลักปิดลักเปิดได้ หากร่างกายขาดวิตามินซีมากเกินปกติอาจทำให้มีลูกยาก เป็นโรคโลหิตจางและมีภาวะความผิดปกติทางจิตได้
อันตรายจากการได้รับวิตามินซีมากเกินไป
วิตามินซี มีผลต่อโรคเกาต์ เนื่องจากวิตามินซีมีหน้าที่ในการช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กในร่างกาย การรับวิตามินซีในปริมาณมากจะทำให้เกิดปัญหาการสะสมธาตุเหล็กตามกระดูกข้อ ต่อต่างๆ มากขึ้น และอาจทำให้เกิดโรคเกาต์ได้ในที่สุด
วิตามินซี มีผลต่อ นิ่วในไต เนื่องจากการได้รับวิตามินซีมากเกินไปอาจไปรบกวนการดูดซึมของทองแดงและซีลีเนียม ซึ่งส่งผลให้มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดนิวในไต หากได้รับวิตามินซีเกินวันละ 10,000 มิลลิกรัม อาจทำให้ท้องเสีย ท้องอืด ท้องเฟ้อได้
ใครบ้างที่ควรได้รับวิตามินซีเพิ่ม….
-ผู้ที่มีอาการเป็นหวัด โรคภูมิแพ้และร่างกายอ่อนแอ ควรได้รับวันละ 1,000 มิลลิกรัม
-ผู้ที่อยู่ท่ามกลางมลภาวะที่เป็นพิษ มีอาการเครียดในร่างกายควรได้รับวันละ 1,000 มิลลิกรัม
-บำรุงผิวพรรณ ควรได้รับวันละ 1,000 มิลลิกรัม
-ผู้ที่ป่วยเป็นโรคต้อกระจกควรได้รับวันละ 1,000 มิลลิกรัม
-ต้องการดูแลและบำรุงสุขภาพควรได้รับวันละ 1,000-2,000 มิลลิกรัม
ที่มา : foodietaste.com/eduzones.com