เภสัชกรแนะนำว่า การกินยากับน้ำเปล่า ปลอดภัยกว่า หากกินยากับเครื่องดื่มอื่นๆ อาจส่งผลกับร่างกาย ดังนี้
น้ำส้ม อาจยับยั้งเอ็นไซม์ ที่ช่วยเปลี่ยนแปลงยาบางชนิด ให้ร่างกายนำไปใช้ ทำให้ยามีประสิทธิภาพน้อยลง แต่ออกฤทธิ์ข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ มากขึ้น
ชา กาแฟ เครื่องดื่มโคล่า การบริโภคคาเฟอีนเป็นประจำขณะกินยารักษาโรคหอบหืด จะทำให้เกิดผลข้างเคียงมากขึ้น คาเฟอีน ทำให้กระเพระอาหารระคายเคือง
นม แคลเซียม จะยับยั้งการดูดซึมปฏิชีวนะ บางชนิด
แอลกอฮอล์ ทำให้ตับเสียหายได้หากดื่มเป็นประจำร่วมกับยาแก้ปวดอะเซตามิโนเฟน ลดประสิทธิภาพยารักษาอาการซึมเศร้า
เครื่องดื่มที่มีเส้นใยพืช ใยพืชอาจไปจับกับบาได้มากมายหลายชนิด ทำให้ยาเหล่านั้นมีประสิทธิภาพลดลง
ยากับเหล้า เบียร์ ไวน์ แอลกอฮอล์
เป็นส่วนผสมในเครื่องดื่ม อาทิ เหล้า เบียร์ ไวน์ เป็นต้น แอลกอฮอล์มีฤทธิ์กดประสาท ทำให้สติสัมปชัญญะของเราลดลง หากรับประทานร่วมกับยาที่มีฤทธิ์กดประสาท เช่น ยาแก้แพ้ ยาคลายกังวล ยาต้านซึมเศร้า อาจทำให้ง่วงซึม ขาดสมาธิ ได้มากกว่าปกติถ้ารุนแรงอาจถึงขั้นหมดสติ และหยุดหายใจไปเลยก็ได้ แอลกอฮอล์ยังมีพิษต่อตับหากรับประทานร่วมกันกับยา พาราเซตามอล หรือยาอื่นที่มีผลต่อตับก็มีโอกาสทำให้เกิดตับวายเฉียบพลันได้ ยาต้าน เชื้อ Metronidazole เมื่อรับประทานร่วมกันกับแอลกอฮอล์จะทำให้เกิดอาการผิวหนังแดงจากการขยายตัว ของหลอดเลือด โดยเฉพาะที่ใบหน้า ร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว เนื่องจากแอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลายที่ดี อาจเปลี่ยนแปลงการดูดซึมยาหลายชนิด โดยเฉพาะทำให้ยาบางชนิดดูดซึมได้มากขึ้น ส่งผลให้เกิดผลข้างเคียง จากการได้รับยาเกินขนาดได้
ถึงแม้ว่าเราพยายามจะเลี่ยงการรับประทานยาไม่พร้อมกันก็ใช่ว่าจะปลอดภัยเสมอ ไป ไม่ว่ายาหรือแอลกอฮอล์ เมื่อเข้าสู่ร่างกายของเรามันยังคงคั่งค้างในร่างกายไปหลายชั่วโมง หรืออาจเป็นวันเลยก็ได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นกับตัวยานั้น ๆ และปริมาณแอลกอฮอล์ที่เราบริโภคเข้าไป
ยากับนม น้ำแร่ น้ำผลไม้ นม น้ำแร่ น้ำผลไม้
มักมีแร่ธาตุและสารเคมีบางชนิดโดยเฉพาะ แคลเซียม ซึ่งทำปฏิกิริยากับยาที่เรารับประทานได้เป็นสารประกอบเชิงซ้อนที่ไม่ดูดซึม เมื่อยาไม่ถูกดูดซึมหรือดูดซึมได้น้อยลง ทำให้การรักษาไม่ได้ผล ยาที่ไม่ควรรับประทานร่วมด้วย ได้แก่ ยาต้านเชื้อกลุ่มเตตร้าไซคลิน (tetracycline, doxycycline) และยาต้านเชื้อกลุ่มควิโนโลน (norfloxacin, ofloxacin, ciprofloxacin) ยารักษาโรคกระดูกพรุนกลุ่ม bisphosphonate (alendronate, risedronate, ibandronate)
ยากับชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง
มักมีสารกระตุ้นประสาทที่รู้จักกันดีคือ คาเฟอีน ที่ทำให้รู้สึกสดชื่น แต่หากได้รับมากเกินไปจะทำให้กระวนกระวาย ใจสั่น นอนไม่หลับและรับประทานร่วมกับยาที่กระตุ้นระบบประสาท เช่น pesudoephedrine ซึ่งพบได้ในยาสูตรผสมแก้หวัดที่หาซื้อได้ทั่วไป ก็อาจทำให้เกินอาการเหล่านั้นมากขึ้นหรือนานขึ้น ยาบางอย่างทำให้คาเฟอีนอยู่ในร่างกายได้นานขึ้นได้แก่ ciprofloxacin cimetidine เมื่อต้องรับประทานยาเหล่านี้ควรงดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนชั่วคราว
ยากับอุณหภูมิของน้ำนั้นสำคัญไฉน
ยา ชางชนิดห้ามผสมกับน้ำอุ่นหรือน้ำร้อนเพราะจะทำให้ยาเสื่อมสภาพ ได้แก่ ยาปฏิชีวนะสำหรับเก็กควรใช้น้ำต้มสุกที่เย็นแล้วผสมเท่านั้น สำหรับการรับประทานยาร่วมกับน้ำอุ่นนั้นไม่ได้มีปัญหาแต่อย่างใด เนื่องจากน้ำที่เราดื่มลงไปนั้น ร่างกายได้ปรับเปลี่ยนอุณหภูมิของน้ำโดยอัตโนมัติ
น้ำเปล่ากับยาดีที่สุด นอกจากจะไม่มีผลกับยาที่รับประทานแล้วหากดื่มในปริมาณที่เพียงพอยังช่วย ละลายยา เพิ่มการดูดซึมและลดผลข้างเคียงบางอย่างที่เกิดขึ้นกับยา โดยเฉพาะยาที่ทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร
" ทุกครั้งที่ต้องรับประทาน อย่าลืมอ่านข้อมูลยาบนฉลาก หรือสอบถามเพิ่มเติมกับเภสัชกรของท่าน "
ขอบคุณข้อมูล :
มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา / kalasin.moph.go.th